Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/334
Title: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อลดปริมาณกระดาษของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Other Titles: Application of information and communication technology for paper reduction in Faculty of Forestry, Kasetsart University
Authors: วิภา เจริญภัณฑารักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
แววบุญ แย้มแสงสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สีห์สุระ วารีสอาด, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์
นิเวศเศรษฐศาสตร์
เทคโนโลยีสารสนเทศ--แง่เศรษฐกิจ
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินระบบ Eco Faculty ตามมาตรฐาน ISO 14001:2015 2) ประเมินปริมาณการใช้เอกสารกระดาษเปรียบเทียบกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และ 3) พัฒนาเว็บไซต์เพื่อติดตามและประเมินปริมาณการใช้กระดาษของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยอ้างอิงมาตรฐาน ISO 14001:2015 การดำเนินการวิจัยมีขั้นตอนประกอบด้วย 1) สำรวจและประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ Eco Faculty โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของผู้ให้ข้อมูล ความรู้ความเข้าใจ การยอมรับแนวคิดระบบ Eco Faculty และด้านสิ่งแวดล้อมภายในสำนักงาน ตามมาตรฐาน ISO 14001:2015 2) ประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แก่ การจัดซื้อกระดาษ การประชุมอิเล็กทรอนิกส์ และการคัดแยกกระดาษ ส่งเสริมการเพิ่มช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ในการปฏิบัติงานทดแทนการใช้กระดาษของหน่วยงานทดลอง คณะวนศาสตร์ในช่วงปี พ.ศ. 2558 - 2560 เครื่องมือที่ใช้คือ แอปพลิเคชันด้านไอซีทีของหน่วยงานทดลอง กลุ่มสายสนับสนุน ช่วยวิชาการ และ 3) พัฒนาเว็บไซต์เพื่อติดตามและประเมินปริมาณการใช้กระดาษโดยอ้างอิงมาตรฐาน ISO 14001:2015 เครื่องมือที่ใช้คือ โปรแกรมเพื่อการสร้างงาน การจัดเก็บ การสื่อสารและการทำงานร่วมกัน การวิเคราะห์ และการประกาศ ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ Eco Faculty ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยมีคะแนนเฉลี่ย 3.43 จาก 5.00 และด้านสิ่งแวดล้อมภายในสำนักงานซึ่งคิดจากข้อมูลทั้งหมด อยู่ที่ 37.5 คะแนน จาก 100 คะแนน เท่ากับระดับพอใช้ 2) ประเมินปริมาณการใช้เอกสารกระดาษเปรียบเทียบกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบวา การจัดซื้อกระดาษ มีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 การประชุมอิเล็กทรอนิกส์มีค่าลดลงร้อยละ 0.48 การคัดแยกกระดาษมีค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.98 และ 3) การพัฒนาเว็บไซต์มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ส่วนบันทึกข้อมูล เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลกระดาษแต่ละส่วนงาน ส่วนวิเคราะห์ข้อมูลการใช้และเปรียบเทียบปริมาณกระดาษมีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงของส่วนงาน และส่วนรายงานสรุปผลค่าปริมาณกระดาษตามมาตรฐาน ISO 14001:2015 ในรูปแบบตารางและกราฟ
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/334
Appears in Collections:Science Tech - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_158606.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.8 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons