กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3354
ชื่อเรื่อง: การบริหารบุคลากรปราชญ์ท้องถิ่นของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The administration of local scholar personnel of elementary school administrators in Pathumratchawongsa district of Amnatcharoen [i.e. Amnat Charoen] province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จำลอง นักฟ้อน, อาจารย์ที่ปรึกษา
วาสนา ผาเหลา, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงเรียนประถมศึกษา--การบริหารงานบุคคล.--ไทย--อำนาจเจริญ
ผู้บริหารโรงเรียน--ไทย
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
การบริหารงานบุคคล
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการบริหารบุคลากรปราชญ์ ท้องถิ่นของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญตาม ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์กับชุมชนและ (2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารบุคลากรปราชญ์ท้องถิ่นของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์กับชุมชน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 36 คน และครูผู้รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์กับชุมชน จำนวน 36 คน รวมทั้งหมด 72 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) การบริหารบุคลากรปราชญ์ท้องถิ่นของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาโดยภาพรวมเห็นว่ามีการปฏิบัติในทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การกำหนดนโยบาย การวางแผน การสรรหา การคัดเลือก การจัดทำทะเบียนและประวัติ และการมอบหมายงาน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ส่วนการปฐมนิเทศ การพัฒนา การประเมิน การจัดสวัสดิการ การสร้างขวัญกำลังใจ วินัย และการรักษาวินัย และการให้พ้นจาก การปฏิบัติงาน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัญหา อุปสรรค ในการบริหารงานบุคลากรปราชญ์ท้องถิ่นพบว่า ขาดงบประมาณดำเนินการ ปราชญ์ท้องถิ่นมีน้อย นโยบายและแผนยังไม่ ชัดเจน ข้อเสนอแนะ คือ ควรจัดสรรงบประมาณ ให้อย่างเพียงพอ กำหนดนโยบายให้ชัดเจน และควรประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจร่วมกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3354
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_83423.pdf2.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons