กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3359
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทางการเมืองการปกครองที่ทำให้เชียงใหม่เป็นเมืองเอกนครระดับภูมิภาค
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Politics and government factors effect on regional primate city of Chiang Mai
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธโสธร ทองคำ
กนกวรรณ พันธุ์พาณิชย์, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: การเมือง.
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
เชียงใหม่--การเมืองและการปกครอง
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาปัจจัยทางการเมืองการปกครองที่ทำให้เชียงใหม่เป็นเมืองเอกนครระดับภูมิภาค ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เชียงใหม่เป็นเมืองเอกนครระดับภูมิภาคประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง การเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา การเป็นหัวเมืองประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม และการเป็นหัวเมืองหลักของการปกครองมณฑลเทศาภิบาลของภาคเหนือตอนบน ทำให้เชียงใหม่มีความสำคัญและโดดเด่น 2) ปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์สภาพภูมิประเทศและทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม ส่งเสริมให้เชียงใหม่เติบโตจนกลายเป็นศูนย์อำนาจทางการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจของภาคเหนือ 3) ปัจจัยด้านสถาบันพระมหากษัตริย์ การสรัางพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ทำให้เกิดการขยายตัวของส่วนราชการและการย้ายที่ทำการมาเชียงใหม่เป็นจำนวนมาก 4) ปัจจัยด้านนโยบายและการพัฒนาประเทศ การกำหนดนโยบายการพัฒนาเมืองและภูมิภาคในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์และการกำหนดให้เชียงใหม่เป็นเมืองหลักของภาคเหนือตอนบนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ส่งผลให้เชียงใหม่เติบโตอย่างมาก 5) ปัจจัยด้านการเป็นศูนย์กลางของส่วนราชการในภาคเหนือ การเติบโตของเมืองในช่วงที่ผ่านมา นอกจากจะมีการจัดตั้งส่วนราชการในเชียงใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 เป็นต้น มาแล้วยังทำให้มีการย้ายส่วนราชการจากจังหวัดลำปางมาอยู่ที่เชียงใหม่ระหว่างพ.ศ. 2535 - 2540 6) ปัจจัยด้านการเมืองเรื่องการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การกำหนดนโยบายจากการเมืองระดับชาติและการผลักดันจากตระกูลการเมือง นักการเมือง ประชาชน และสื่อมวลชนของเชียงใหม่ ก่อให้เกิดการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในภูมิภาคแห่งแรก 7) ปัจจัยด้านการเมืองการปกครองระดับประเทศสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเชียงใหม่จำนวนหนึ่งดำรงดำแหน่งรัฐมนตรี ส่งผลต่อการผลักดันนโยบายและโครงการสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาและขยายตัวของจังหวัดเชียงใหม่ 8) ปัจจัยด้านการเมืองการปกครองระดับห้องถิ่น การต่อการแข่งขันทางการเมืองท้องถิ่นโดยการประเด็นนโยบายการพัฒนาเมือง นำไปสู่การสร้างความเติบโตให้เมืองเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3359
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
118514.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons