กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3360
ชื่อเรื่อง: | บทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายการนิเทศการศึกษา 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Roles of the Basic Education School Board in creating relationship between the school and the community for schools in the supervision network 2 under the Office of Ratchaburi Educational Service area, zone 2 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จำลอง นักฟ้อน ไพทูลย์ บัวแตง, 2497- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุมชนกับโรงเรียน--ไทย--ราชบุรี บุคลากรทางการศึกษา--ภาระงาน การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2547 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายการนิเทศการศึกษา 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2 (2) เปรียบเทียบบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการสร้างความ สัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนจำแนกตามสถานภาพ ของคณะกรรมการสถานศึกษา และ (3) ศึกษาแนวทางในการเสริมสร้างบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัด กลุ่ม โรงเรียนเครือข่ายการนิเทศการศึกษา 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2 จำนวน 97 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่น .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความ แตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ แอล เอส ดี ผลการวิจัยพบว่า (1) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีการปฏิบัติตามบทบาทการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ในภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีสถานภาพแตกต่างกันมีระดับการปฏิบัติตามบทบาทการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในภาพรวมไม่แตกต่างกัน และ (3) แนวทางในการเสริมสร้างบทบาทของคณะกรรมการที่สำคัญได้แก่ การให้คณะกรรมการสถานศึกษา ได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และพัฒนาโรงเรียน การให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมมือกับสถานศึกษาในการประชา สัมพันธ์ การประชุมชี้แจงเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายเพื่อความโปร่งใสในการทำงาน และการสร้างความศรัทธาของชุมชนที่มีต่อโรงเรียน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3360 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_85802.pdf | 2.12 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License