กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3361
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายในการใช้ดุลพินิจลงโทษวินัยข้าราชการครู
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems of law in using discretion to punish on discipline for teachers
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มาลี สุรเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมร ปาโท, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ครู--วินัย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการในการดำเนินการทางวินัยข้าราชการครู (2) ศึกษาหลักการในการใช้ดุลพินิจลงโทษทางวินัยข้าราชการครู (3) ศึกษาหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจลงโทษวินัยข้าราชการครูของไทยและสาธารณรัฐสิงค์โปร์ สหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์ และสาธารณรัฐฝรั่งเศส (4) วิเคราะห์เปรียบเทียบการใช้ดุลพินิจลงโทษวินัยข้าราชการครูไทย และสาธารณรัฐสิงค์โปร์ สหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์ และสาธารณรัฐฝรั่งเศส (5) เสนอแนะในการใช้ดุลพินิจลงโทษวินัยข้าราชการครูอย่างถูกต้องเหมาะสม การค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสาร รวบรวมเอกสารกฎหมาย ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ การศึกษาอิสระ คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด กฎ ก.ค.ศ. ตัวอย่างโทษทางวินัยข้าราชการครู พร้อมนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบในการใช้ดุลพินิจลงโทษทางวินัยข้าราชการครู ผลการศึกษาพบว่า (1) การดำเนินการทางวินัยข้าราชการครู ได้มีกฎหมายกำหนดไว้ซึ่งสามารถใช้ดุลพินิจในการลงโทษได้ (2) การใช้ดุลพินิจลงโทษวินัยราชการครู มีการใช้ดุลพินิจผูกพันและดุลพินิจวินิจฉัยในการลงโทษวินัยราชการครู (3) การใช้ดุลพินิจลงโทษวินัยต้องเหมาะสมกับความผิด สอดคล้องกับหลักนิติธรรมและหลักมโนธรรม โดยยึดหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด (4) การใช้ดุลพินิจการลงโทษทางวินัยราชการครูของไทยและของสาธารณรัฐสิงค์โปร์ สหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์ และสาธารณรัฐฝรั่งเศสนั้น พบว่าของประเทศไทยดำเนินการล่าช้า ลงโทษทางวินัยไม่เหมาะสมกับความผิด ทำให้ครูไม่เกรงกลัวต่อการกระทำผิดทางวินัย ซึ่งแตกต่างจากสาธารณรัฐสิงค์โปร์ สหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์ และสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ดำเนินการด้วยความรวดเร็วและลงโทษเหมาะสมกับความผิด ทำให้ครูเกรงกลัวต่อการกระทำผิดทางวินัย (5) การใช้ดุลพินิจการลงโทษวินัยราชการครูต้องยึดดุลพินิจผูกพันและดุลพินิจวินิจฉัยตามหลักกฎหมายและควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 96 และมาตรา 97 และกฎ กคศ. ว่าด้วยความผิดชัดแจ้ง พ.ศ. 2549
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3361
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons