Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3367
Title: การดำเนินงานการปฏิรูปการเรียนรู้ของวิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Other Titles: Operation of the learning reform in Si Sa Ket Industrial and Community Education College under the Office of Vocational Education Commission
Authors: นรา สมประสงค์
พิณทิพย์ กมลทิพย์, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
วิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ--การบริหาร
การปฏิรูปการศึกษา--ไทย
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
Issue Date: 2547
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการดำเนินงานการปฏิรูปการเรียนรู้ของวิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (2) เปรียบเทียบการดำเนินงานการปฏิรูป การเรียนรู้ของวิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ ตามความคิดเห็นของนักเรียนประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม และประเภทวิชาพาณิชยกรรม และ (3) เปรียบเทียบการดำเนินงานการปฏิรูปการเรียนรู้ของวิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ ตามความคิดเห็นของนักเรียนจำแนกตามระดับชั้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม และนักเรียนประเภทวิชาพาณิชยกรรม ที่กำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 จำนวน 470 คน เครื่องมือทีใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า มีค่าความเที่ยง .96 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า (1) การดำเนินงานการปฏิรูปการเรียนรู้ของวิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ อยู่ในระดับมาก ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้าน (2) นักเรียนประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม และประเภทวิชาพาณิชยกรรม มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานการปฏิรูปการเรียนรู้ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันทุกด้าน ยกเว้นด้านกระบวนการเรียนรู้มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน (3) นักเรียนระดับชั้น ปวช.1 และ ปวช.2 มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานการปฏิรูปการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยภาพรวม และในด้านกระบวน การเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนรู้ และด้านการประเมินผลการเรียนรู้ ส่วนด้านกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนระดับชั้น ปวช.2 มีความคิดเห็นแตกต่างกับนักเรียนระดับชั้น ปวช.1 และ ปวช.3
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3367
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
full_text85804.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons