กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3374
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของเยาวชนในสถานศึกษากรุงเทพมหานครที่มีต่อสื่อในหลักสูตรการฝึกอบรมการป้องกันโรคไข้หวัดนกด้วยสุขบัญญัติแห่งชาติ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The satisfaction with training media of the avian influenza prevention with the National Health Prescription Training Program of students in Bangkok metropolitan schools
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริวรรณ ตึกขาว, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
ไข้หวัดนก--การฝึกอบรม--การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเยาวชนในสถานศึกษากรุงเทพมหานครที่มี ต่อสื่อ ทุกประเภทในหลักสูตรการฝึกอบรมการป้องกันโรคไข้หวัดนกด้วยสุขบัญญัติแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เยาวชนในสถานศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 291 คน โดยวิธีการเลือก แบบเจาะจง เฉพาะเยาวชนใช้สื่อในการอบรมการป้องกันไข้หวัดนกด้วยสุขบัญญัติแห่งชาติทุกประเภทของสื่อ เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของเยาวชนในสถานศึกษากรุงเทพมหานครที่มีต่อสื่อในหลักสูตรการ ฝึกอบรม เรื่อง การป้องกันโรคไข้หวัดนกด้วยสุขบัญญัติแห่งชาติสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ความพึงพอใจของเยาวชนต่อสื่อในหลักสูตรโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะนิทรรศการ เรื่อง การล้างมือ 7 ขั้นตอน มีความพึงพอใจมากกว่าสื่อประเภทอื่น ( 2) ความพึงพอใจของเยาวชนที่มีต่อ คุณภาพสื่อโดยรวมอยู่ในระดับมาก ในแต่ละคุณภาพของสื่อ ดังนี้ (2.1) เนื้อหาในสื่อ พบว่า ความชัดเจนในการอธิบาย เนื้อหาในสื่อ ได้แก่แผ่นปลิวเรื่อง การล้างมือ 7 ขั้นตอน การเรียบเรียงเนื้อหาในสื่อที่เข้าใจง่าย ได้แก่ นิทรรศการ เรื่อง การล้างมือ 7 ขั้นตอน เนื้อหาในสื่อเหมาะสมกบวัยของเยาวชนได้แก ั ่ นิทรรศการ เรื่อง การล้างมือ 7 ขั้นตอน ความน่าสนใจ เนื้อหาในสื่อในการน าเสนอ ได้แก่ นิทรรศการ เรื่อง การล้างมือ 7 ขั้นตอน และประโยชน์ที่ได้รับจากเนื้อหาในสื่อ ได้แก่ หนังสือเรื่อง“สิ่งที่ประชาชนควรรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก” (2.2) ภาษาในสื่อเข้าใจง่่ายได้แก่ นิทรรศการ เรื่อง การเลือกซื้อ อาหารอย่างปลอดภัย (2.3) รูปภาพในสื่อ พบว่า ความสวยงามของรูปภาพที่ประกอบเนื้อหาในสื่อ ได้แก่ หนังสือ เรื่อง “สิ่งที่ประชาชนควรรู้เกี่ยวกบโรคไข้หวัดนก” รูปภาพที่ใช้สอดคล้องกับเนื้อหาในสื่อ ได้แก่ นิทรรศการ เรื่อง การปรุง อาหาร และการรับประทานอาหาร ความเหมาะสมในการใช้สีของรูปภาพ ได้แก่ หนังสือ เรื่อง เครือข่ายเยาวชนป้องกัน โรคไข้หวัดนก ขนาดของรูปภาพ ได้แก่ หนังสือ เรื่อง การรณรงค์และป้องกันโรคไข้หวัดนกและปริมาณของรูปภาพ ได้แก่ นิทรรศการ เรื่อง การปรุงอาหารและการรับประทานอาหาร (2.4) ตัวอักษรในสื่อ พบว่า ขนาดของตัวอักษรที่มีความเหมาะสม ได้แก่ หนังสือ เรื่อง การรณรงค์และป้องกันโรคไข้หวัดนก สีของตัวอักษรที่มีเหมาะสมได้แก่ หนังสือ เรื่อง การรณรงค์และป้องกันโรคไข้หวัดนก และรูปแบบของตัวอักษรที่มีความเหมาะสม ได้แก่ นิทรรศการ เรื่อง การปรุงอาหาร และการรับประทานอาหาร (2.5) ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้สื่อ พบว่า ได้รับความรู้และความสนุกสนานจากสื่อ ได้แก่ หนังสือ เรื่อง เครือข่ายเยาวชนป้องกันโรคไข้หวัดนก สื่อที่จดจำ ได้นาน ได้แก่ นิทรรศการ เรื่อง การล้างมือ 7 ขั้นตอน และ (2.6) สื่อที่นำไปปฏิบัติได้ ได้แก่ หนังสือ เรื่อง เครือข่ายเยาวชนป้องกันโรคไข้หวัดนก และ (3)ความพึงพอใจของ เยาวชนที่มีต่อสื่อที่ใช้ในกิจกรรม อยูในระดับมาก พบว่าเยาวชนได้มีโอกาสศึกษาด้วยตนเองจากสื่อ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3374
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_128678.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons