Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3389
Title: การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าทอ/เสื้อผ้าในจังหวัดยโสธร
Other Titles: The operations of the textile/garment product community enterprise in Yasothon Province
Authors: ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
รจนา เตียวพานิชย์กิจ, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
วิสาหกิจชุมชน--ไทย--ยโสธร
ผ้าทอ--ไทย--ยโสธร
เสื้อผ้า--ไทย--ยโสธร
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลพื้นฐานและสภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าทอ/เสื้อผ้า (2) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของกรรมการวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าทอ/เสื้อผ้า (3) ความคิดเห็นของกรรมการวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าทอ/เสื้อผ้าเกี่ยวกับการดำเนินงานของกลุ่ม (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯเกี่ยวกับการดำเนินงานของกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า (1) วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าทอ/เสื้อผ้า เริ่มก่อตั้งจากความต้องการของคนในชุมชน ดำเนินกิจกรรมผลิตผ้าทอ/เสื้อผ้ามาแล้วเฉลี่ย 12.73 ปี จำนวนสมาชิกเฉลี่ย 19.51 คน ดำเนินกิจกรรม ออมทรัพย์ แปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตรร่วมกับการผลิตผ้าทอ/เสื้อผ้า ใช้ทุนจากการระดมหุ้นและการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจ มีการจัดสรรผลประโยชน์แบ่งปันผลกำไร โดยการปันผลหุ้น และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การดำเนินงานมีการคัดเลือกคณะกรรมการสับเปลื่ยนหมุนเวียนกัน แบ่งบทบาทหน้าที่การบริหารอย่างชัดเจันพัฒนาสมาชิกโดยการฝึกอบรม ใช้วิธีการผลิตแบบรวมกลุ่มและแยกกันผลิต มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์โดยสมาชิกกลุ่มที่ได้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและจากการอบรม แต่ต้องซื้อวัตถุดิบจากร้าน/โรงงาน ร่วมกันกำหนดราคาเองได้ ประชาสัมพันธ์สินค้าและส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ภายในชุมชน ระบบบัญชีมีการจัดบันทึกและวางแผนการใช้เงินในแต่ละปี (2) คณะกรรมการมีอายุเฉลี่ย 48.97 ปี มากกว่าครึ่งจบการศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน เคยผ่านการอบรม/ดูงานเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน (3) การดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนคณะกรรมการกลุ่มเห็นด้วยในระดับมากในด้านการบริหารการตลาดที่มีการนำข้อมูลความต้องการของลูกค้ามาใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง และกระบวนการผลิตที่มีการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับต้นทุนการผลิต เห็นด้วยระดับปานกลางในด้านการบริหารองค์กร ด้านการวางแผนการดำเนินงานกลุ่ม การจัดการความรู้ข้อมูลข่าวสาร การบริหารสมาชิกกลุ่ม และการจัดการสินค้า (4) ปัญหาที่พบคือกลุ่มขาดการวิเคราะห์ทิศทางการตลาดของสินค้า และขาดการระดมทุนเพิ่มเติม คณะกรรมการมีข้อเสนอแน่ะว่าควรวิเคราะห์และกำหนดกลยทธุ์ทางการตลาดอย่างต่อเนื่องและควรเชื่อมโยงการตลาดสินค้าทั้งภายในและภายนอกชุมชน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3389
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
147968.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.49 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons