กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3420
ชื่อเรื่อง: การปลูกยางพาราทดแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Para rubber plantation to replace maize cultivation in Santi Suk District of Nan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
จีรพร ยศอาลัย, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ยางพารา--การปลูก
พืชทดแทน
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร (3) ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตยางพาราทดแทนการปลูกข้าวโพด (4) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับการผลิตยางพาราของเกษตรกร และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรที่ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เป็นชายมีอายุเฉลี่ย 49.69 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 อาชีพหลักทำไร่อาชีพรอง คือรับจ้าง แรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 1.99 คน พื้นที่ปลูกยางพาราเคยปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาก่อน ประสบการณ์ในการปลูกยางพาราเฉลี่ย 5.60 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธกส. พื้นที่การเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 35.52 ไร่ สิทธิในการถือครองเป็นพื้นที่นอกเหนือเอกสารสิทธิ (2) เกษตรกรปลูกยางพันธุ์ RRIM 600 โดยปลูกระยะ 3 X 7 เมตร พื้นที่ปลูกยางพาราเฉลี่ย 16.17 ไร่ กรีดยางเฉลี่ย 113.73 วันต่อปี ได้ผลผลิตเฉลี่ย 2208.66 กิโลกรัมต่อปี รายได้จากการปลูกยางพาราเฉลี่ย 55191.84 บาท ต้นทุนการผลิตก่อนเปิดกรีดเฉลี่ย 7484.44 บาท หลังเปิดกรีดเฉลี่ย 4444.44 บาท เกษตรกรใช้ทุนของตนเองในการทำสวนยางพารา (3) ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตยางพาราทดแทนการปลูกข้าวโพดอยู่ในระดับมากในเรื่องการปลูกยางพาราทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น (4) เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารระดับปานกลางจากสื่อบุคคล สื่อกลุ่มและสื่อมวลชน ด้านความรู้เกี่ยวกับการผลิตยางพาราของเกษตรกร ส่วนใหญ่มีความรู้ระดับมากโดยเฉพาะในเรื่องการทำแนวกันไฟควรทำเป็นแนวกว้างไม่ต่ำกว่า 3 เมตร รอบบริเวณสวนยาง (5) เกษตรกรมีปัญหาระดับมากในด้านพื้นที่ลาดชันซึ่งมีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทะลายของดิน เกษตรกรมีความต้องการต่อการส่งเสริมในระดับมากในประเด็นพันธุ์ดีที่เหมาะสมในการปลูก และมีข้อเสนอแน่ะว่าควรมีการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่า และปัจจัยการผลิตมีราคาแพง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 255
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3420
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148016.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons