Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3430
Title: การผลิตหอมแดงและความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรในอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
Other Titles: Shallot production and extension needs of farmers in Nong Hong District of Buri Ram Province
Authors: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรสวรรค์ นิลสนธิ, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
หอมแดง--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตหอมแดงของเกษตรกร 3) สภาพการผลิตหอมแดงของเกษตรกร 4) ความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง ในอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 563 คน ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 234 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ รอบครัวเฉลี่ย 4.73 คน เกือบทั้งหมดมีอาชีพทานา มีประสบการณ์ในการผลิตหอมแดงเฉลี่ย 14.01 ปี สื่อในหมู่บ้านที่มีคือหอกระจายข่าว สื่อในครอบครัวที่มีคือโทรทัศน์ มีการรับรู้ข่าวสารจากสื่อบุคคลมากที่สุด โดยรับจากเพื่อนบ้าน จำนวนแรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 2.83 คน ลักษณะการถือครองที่ดินส่วนใหญ่เป็นของตนเอง ทีั่งหมด พื้นที่ปลูกหอมแดงเฉลี่ย 1.21 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,976.92 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้จากการขายเฉลี่ย 25,282.05 บาท (2) เกษตรกรมีความรู้มากที่สุดในเรื่อง การปลูกหอมแดงในฤดูร้อน จะมีระยะเก็บเกี่ยวที่เร็วกว่าการปลูกในฤดูหนาว ซึ่งอากาศร้อนจะทำให้หอมแก่เร็วขึ้น ส่วนเรื่องที่มีความรู้น้อยที่สุด คือการเตรียมดินไม่ควรไถพรวนดินละเอียดมากก่อนปลูก (3) เกษตรกรเกือบทั้งหมดเพาะพันธุ์หุอมแดงเอง ปลูกหอมแดงด้วยหัวพันธุ์ ใช้น้าจากน้ำฝน และมีการตากดิน โดยตากดินเฉลี่ย 9.51 วันทั้งหมดมีการปรับปรุงดินก่อนปลูก ปุ๋ยเคมีที่ใช้มากที่สุดคือสูตร 15 - 15 - 15 มีการจ้างแรงงานเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 5.52 คน ส่วนใหญ่จะขายเมื่อหอมแดงแห้งมัดได้ มากกว่าครึ่งขายหอมแดงแบบคละขนาด ส่วนใหญ่จะขายให้กับพ่อค้าเร่ (4) ความต้องการการส่งเสริมด้านความรู้ในการปลูกมากที่สุดคือประเด็นการผลิตให้ได้คุณภาพ รองลงมาคือประเด็นข่าวสารการตลาด สำหรับความต้องการการส่งเสริมด้านเทคนิควิธีการส่งเสริมมากที่สุดคือการฝึกอบรม รองลงมาคือการเยี่ยมเกษตรกรในไร่นา ส่วนความต้องการการส่งเสริมด้านการสนับสนุนการผลิตและการตลาดมากที่สุดคือการประสานงานกับผู้ซื้อ รองลงมาคือการประกันราคาผลผลิต (5) เกษตรกรเกือบทั้งหมดมีปัญหาในประเด็นราคาจำหน่ายผลผลิตตกต่า โดยมีข้อเสนอแนะคือควรมีตลาดกลางในการจำหน่าย
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3430
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
148071.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons