Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3449
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเข็มทอง ศิริแสงเลิศ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเรืองยศ เวียงนนท์, 2503-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-02-20T07:24:11Z-
dc.date.available2023-02-20T07:24:11Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3449-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการจัดการศึกษาโรงเรียนมัธยม ศึกษา อำเภอเมืองร้อยเอ็ด (2) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากร คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมืองร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 จำนวน 75 คน จาก 5 โรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า (1) มีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการจัดการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมี 4 ด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการประจำปี การกำหนดนโยบายและแผนพัฒนา การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน (2) ปัญหาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีปัญหาขาดความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และไม่มีเวลาเข้าประชุม แนวทางแก้ไข คือ สร้างความเข้าใจโดยจัดประชุมอบรม แจกคู่มือการปฏิบัติงาน แจ้งกำหนดการประชุมล่วงหน้า จัดประชุมใน วันหยุด ปัญหาเกี่ยวกับโรงเรียน มีปัญหาผู้บริหารขาดความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำชุมชน ผู้แทนครูไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ มีภารกิจหรืองานพิเศษมากเกินไป โรงเรียนไม่มีแผนการจัดกิจกรรมที่ชัดเจนและขาดงบประมาณ แนวทางการแก้ไข คือ ผู้บริหารโรงเรียนควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ประชาสัมพันธ์บทบาทหน้าที่และแนวปฏิบัติของผู้แทนครูให้ชัดเจน จัดประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดขอบข่ายและระยะเวลาการจัดกิจกรรมและจัดหางบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัดหรือรับบริจาค ส่วนปัญหาอื่นๆได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมน้อยเกินไป ไม่ได้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ไขคือ ให้บุคลากรทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการคัดเลือกกรรมการที่มีความรู้ ความสามารถ กล้าแสดงความคิดเห็น และติดตามผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1th_TH
dc.subjectคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานth_TH
dc.subjectการศึกษา--การมีส่วนร่วมของประชาชน.--ไทยth_TH
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา--การบริหารth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษาth_TH
dc.titleการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมืองร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1th_TH
dc.title.alternativeThe participation of basic education school board members in educational management of secondary schools in Mueang Roi-et district under the Office of Roi-et Educational Service Area 1en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_124211.pdf15.33 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons