กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3463
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยวของสหกรณ์การเกษตรหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 จำกัด จังหวัดยะลา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Approaches to touism business management by the Ban Chulabhorn Patana 9 Agricultural Cooperative Limited in Yala Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ส่งเสริม หอมกลิ่น วิชชุดา กาญจนศิริ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์การเกษตรหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9--การบริหาร อุตสาหกรรมท่องเที่ยว--ไทย--ยะลา |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 2) ศักยภาพของสหกรณ์การเกษตรหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 จำกัด 3) แนวทางการบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยวของสหกรณ์การเกษตรหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 จำกัด และ 4) ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยวของสหกรณ์การเกษตรหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 จำกัดประชากรที่ศึกษา คือ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 ในช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม 2557 จำนวน 50 คน และ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวในหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9 คือ สมาชิกสหกรณ์ ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และระดมสมองโดยกระบวนการมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุระหว่าง 41-50 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพทำธุรกิจส่วนตัว รายได้เฉลี่ยเดือนละ 20,001-30,000 บาท มีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ ท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ ใช้เวลาท่องเที่ยว 2-3 วัน ทราบข้อมูลการท่องเที่ยวจากเพื่อน/ญาติ/คนรู้จัก มีจุดมุ่งหมายเพื่อชื่นชมธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของชุมชน ความพึงพอใจด้านความเป็นมิตรของผู้คนในท้องถิ่นมากที่สุด ด้านแหล่งท่องเที่ยว ด้านอาหาร และด้านบริการนำเที่ยวระดับมาก ด้านการคมนาคม ด้านสถานที่พัก และด้านมาตรการรักษาความปลอดภัยระดับปานกลาง และความพึงพอใจต่อสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกระดับน้อยที่สุด 2) ศักยภาพของสหกรณ์พบว่า จุดแข็งคือ สมาชิกมีความพร้อม มีทัศนคติที่ดีต่อการท่องเที่ยว จุดอ่อนคือสมาชิกขาดประสบการณ์การบริหารจัดการ ขาดความพร้อมปัจจัยเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยว อุปสรรคคือ สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การคมนาคม การติดต่อสื่อสาร โอกาส คือ หน่วยภาครัฐให้การสนับสนุนการท่องเที่ยว ส่งเสริมอาชีพ มีมาตรการความปลอดภัย 3) แนวการบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยวของสหกรณ์ ได้แก่การบริหารจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวทุกด้านอย่างเป็นระบบโดยเน้นจุดแข็งที่สำคัญของชุมชน และสหกรณ์ ควรปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อน และแสวงหาโอกาสที่สนับสนุน การดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวของชุมชนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 4) ปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยวของสหกรณ์ คือ ไม่มีฝ่ายจัดการ เงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอ วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ ขาดการวางแผนการที่ดี ข้อเสนอแนะ ให้คณะกรรมสหกรณ์ดำเนินการแทนฝ่ายจัดการ ฝึกอบรมเพิ่มทักษะความรู้ให้กบมัคคุเทศกับชุมชน ระดมเงินออม เงินฝาก และจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือขอสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ภายใต้อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์เพื่อให้สหกรณ์มีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้น สร้างรายได้ให้กับสมาชิกและคนในชุมชน จนสามารถสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3463 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
140524.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.65 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License