กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3483
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีการผลิตแตงโมตามแนวการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร จังหวัดนครพนม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Technology utilization of watermelon production adhering to good agricultural practice of farmers in Nakhon Phanom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นงลักษณ์ โคตรสมบัติ, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
แตงโม--การผลิต
เทคโนโลยีการผลิตอาหาร
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกแตงโม (2) การใช้เทคโนโลยีการปลูกแตงโม ตามแนวการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (3) สภาพการตลาด แตงโม (4) ความรู้ตามแนวการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และ(5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้เทคโนโลยีการผลิตแตงโม ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรผู้ปลูกแตงโมส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาทั้งหมดเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีประสบการณ์ปลูกแตงโมเฉลี่ย 8.75 ปี เกือบทั้งหมดมีการเช่าพื้นที่เพื่อเพาะปลูกแตงโม โดยมีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 11.20 ไร่ มีรายได้เฉลี่ยต่อรอบการผลิต 218,623.20 บาท ต้นทุนเฉลี่ยต่อรอบการผลิต 125,036.20 บาท เกษตรกรมีการได้รับรู้ข่าวสารการเกษตร ด้านเทคโนโลยีการผลิตแตงโมในระดับน้อย (2)เกษตรกรผู้ปลูกแตงโมเกือบทั้งหมดมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตแตงโมตามแนวการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมากที่สุด โดยเกษตรกรมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตแตงโมตามแนวการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในประเด็นต่าง ๆเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ การขนย้าย, การเก็บเกี่ยว,การผสมเกสร, การเตรียมวัสดุปลูก, การเตรียมดิน, การป้องกันกำจัดศัตรูพืช, การเพาะเมล็ด, การปลูก และการใส่ปุ๋ย (3) สภาพการตลาดพบว่า เกษตรกรทั้งหมดมีการจัดชั้นคุณภาพผลผลิต (คัดเกรด) ขายผลผลิตตามน้ำหนัก ส่วนมากขายผลผลิตให้กับผรู้วบรวมและเกือบทั้งหมดไม่มีการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการขาย (4) เกษตรกรมีความรู้ตามแนวการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ในภาพรวมในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ การจัดบันทึก, วัตถุอันตรายทางการเกษตร, พื้นที่ปลูก, การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว, การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว, แหล่งน้ำ, การพักผลผลิตการขนย้ายในแปลงปลูกและการเก็บรักษา, และสุขลักษณะส่วนบุคคล (5) ปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกแตงโม พบว่าในภาพรวมเกษตรกรมีปัญหาในระดับน้อย โดยมีปัญหามากที่สุดในประเด็น พื้นที่ปลูก ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะ ให้เจ้าหน้าที่จัดฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสนับสนุนการตรวจวิเคราะห์ดิน/น้ำ และควรมีหนวยงานภาครัฐเข้าร่วมดูแลระบบการตลาด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3483
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148075.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons