กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/348
ชื่อเรื่อง: | การพยากรณ์การใช้สิทธิของลูกจ้างในสถานประกอบการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Claim prediction of enterprise employees to increase management efficiency for workmen's compensation fund of Social Security Office |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิภา เจริญภัณฑารักษ์ อิทธิ บรรลือศักดิ์, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ดวงดาว วิชาดากุล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์ สำนักงานประกันสังคม. กองทุนเงินทดแทน--การบริหาร สิทธิลูกจ้าง สวัสดิการลูกจ้าง |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้ทําการพยากรณ์การใช้สิทธิของลูกจ้างในสถานประกอบการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนเงินทดแทน สํานักงานประกันสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การพัฒนาคลังข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล และจัดทํารายงานตามหลักการธุรกิจอัจฉริยะ 2) การพยากรณ์การใช้สิทธิของลูกจ้างที่เบิกเงินจากกองทุนเงินทดแทน สํานักงานประกนสังคม ด้วยวิธีการจําแนกประเภท และ 3) การประเมินผลการใช้งานคลังข้อมูลการพัฒนาคลังข้อมูลโดยใช้รูปแบบโครงสร้างสตาร์ ซึ่งใช้ข้อมูลการใช้สิทธิของลูกจ้างที่เบิกเงินจากกองทุนเงินทดแทน สํานักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-12 ปี พ.ศ.2556 - 2557 ด้วยโปรแกรม Microsoft SQL Server 2008 R2 และทํากระบวนการอีทีแอล ด้วยเครื่องมือ SQL Server Integration Services และนําเสนอรายงานผ่านโปรแกรม Microsoft Excel 2007 จากนั้นใช้ข้อมูลการใช้สิทธิของลูกจ้างที่ เบิกเงินจากกองทุนเงินทดแทน สํานักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 จํานวน 3,636 ชุดข้อมูล สร้างตัวแบบพยากรณ์โดยการเลือกใช้ข้อมูล 2 แบบ คือ ชุดข้อมูลแบบไม่จัดกลุ่ม และชุดข้อมูลแบบจัดกลุ่มนําไปผ่านกระบวนการคัดเลือกคุณลักษณะ ด้วยวิธีเลือกคุณสมบัติตามความสัมพันธ์ แล้วทําการทดสอบประสิทธิภาพแบบ 10-fold Cross Validation ด้วยโปรแกรม WEKA Version 3.8.0 โดยใช้อัลกอริทึม Multilayer Perceptron, Naïve Bayes และต้นไม้ตัดสินใจ J48 พบว่าชุดข้อมูลแบบไม่จัดกลุ่มที่ใช้อัลกอริทึม J48 ให้ค่าความถูกต้องสูงที่ร้อยละ 100 Multilayer Perceptron ให้ค่าความถูกต้องสูงที่ร้อยละ 99.67 และ Naïve Bayes ให้ค่าความถูกต้องสูงที่ร้อยละ 94.63 ส่วนชุดข้อมูลแบบจัดกลุ่มที่ใช้อัลกอริทึม J48 ให้ค่าความถูกต้องสูงที่ร้อยละ 100 Multilayer Perceptron ให้ค่าความถูกต้องสูงที่ร้อยละ 99.67 และ Naïve Bayes ให้ค่า ความถูกต้องสูงที่ร้อยละ 94.00 และการประเมินผลการใช้งานคลังข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า คลังข้อมูลการใช้สิทธิลูกจ้างของสถานประกอบการที่เบิกเงินจากกองทุนเงินทดแทน ที่ใช้งานโดยผู้บริหาร หัวหน้าส่วนงานกองทุนเงินทดแทน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านกองทุนเงินทดแทน มีความพึงพอใจการใช้งานคลังข้อมูลอยู่ในระดับดี และในการทําเหมืองข้อมูลพยากรณ์ พบว่า ชุดข้อมูลแบบไม่จัดกลุ่มและจัดกลุ่ม โดยใช้เทคนิคตัวแบบพยากรณ์ต้นไม้ตัดสินใจ J48 ให้ค่าความถูกต้องสูงที่สุดที่ร้อยละ 100 และมีค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดที่ 0 เหมาะสม สําหรับนําไปสร้างระบบพยากรณ์กองทุนเงินทดแทน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/348 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Science Tech - Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_153295.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.3 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License