Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3495
Title: | มาตรการทางกฎหมายเพื่อป้องกันธุรกรรมจำหน่ายรถยนต์ที่ไม่เป็นธรรม |
Other Titles: | Legal measures against unfair car trading |
Authors: | ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล ณัฐธัญ สวิงทอง, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี รถยนต์ รถยนต์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อรถยนต์ โดยใช้มาตรการทางกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคตั้งแต่ก่อนซื้อรถยนต์ และหลังซื้อรถยนต์ โดยศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายประเทศไทยกับ ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นสัญญาเอกเทศ จากการศึกษากฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคหลักความรับผิดทางสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมสัญญาว่าด้วย ซื้อขาย พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 อีกทั้ง พบว่ากฎหมายของประเทศไทยยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งก่อนซื้อรถยนต์ และหลังซื้อรถยนต์ ในขณะที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งก่อนซื้อรถยนต์ และหลังซื้อรถยนต์จากการศึกษาถึงปัญหาดังกล่าว จึงขอเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาการคุ้มครองให้มีมาตรการทางกฎหมายต่าง ๆ อาทิ เช่น ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 โดยมีบทบัญญัติที่เป็นมาตรการควบคุมการโฆษณาโดยให้ผู้กระทำการโฆษณารถยนต์ยื่นคำขออนุญาต และต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงจะทำการโฆษณาได้ และให้มีมาตรการกำหนดให้ผู้ผลิตรถยนต์ใหม่ต้องติดฉลากระบุรายละเอียดข้อมูลของรถยนต์ เป็นสติ๊กเกอร์ติดไว้ที่กระจกหน้าต่างของรถยนต์ใหม่ทุก ๆ คน เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคพิจารณาในการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ และมีการตรวจสอบการใช้ข้อความในฉลากก่อนน่ารถยนต์ออกขายว่า มีการแสดงฉลากครบถ้วนและมีการใช้ข้อความที่ตรงต่อความเป็นจริง พร้อมทั้งเสนอแนะให้มีคู่มือแนะนำผู้บริโภคผู้ซื้อรถยนต์ใหม่ โดยให้เอกสารคู่มือคำแนะนำผู้ซื้อเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3495 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License