Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3496
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorณัฐชยา จันทร์ทอง, 2534--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-02-25T07:24:31Z-
dc.date.available2023-02-25T07:24:31Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3496-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการสำคัญเกี่ยวกับการฟ้องคดีปกครอง ศึกษากฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทยเกี่ยวกับหลักการสำคัญในการฟ้องคดีปกครอง วิเคราะห์กฎหมายต่างประเทศกับกฎหมายไทยเกี่ยวกับหลักการสำคัญในการฟ้องคดีปกครอง โดยเฉพาะเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง กรณีการเสนอคดีต่อศาลให้มีคำสั่งหรือคำพิพากษา กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ฝ่ายปกครองเสมอคดีต่อศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (6) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542. เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองกรณีการเสนอคดีต่อศาลให้มีคําสั่งหรือค่าพิพากษา กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ฝ่ายปกครองเสนอคดีต่อศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (6) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ให้เหมาะสมต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร จากการศึกษาวิเคราะห์จากเรา หนังสือ วิทยานิพนธ์ คําวินิจฉัยของศาล บทความที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติต่าง ๆ รวมถึงเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เว็บไซต์และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทําของประเทศไทยและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า คดีที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (6) จะต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรอันเป็นกฎหมายเฉพาะกำหนด ซึ่งในมาตราดังกล่าวยังมีความไม่ชัดเจนในประเด็นเกี่ยวกับเงื่อนไขการฟ้องคดีที่แตกต่างจากคดีปกครองประเภทอื่น จึงเกิดปัญหาว่ากรณีการเสนอคดีต่อศาลปกครองให้มีคําสั่งหรือคําพิพากษาตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (6) ต้องพิจารณาเงื่อนไขการฟ้องคดีตามมาตรา 42 อีกหรือไม่ จากการศึกษาพบว่าการเสนอคดีต่อศาลตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (6) จะต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติให้ฝ่ายปกครองเสนอคดีต่อศาลเป็นสำคัญ ทำให้บุคคลที่มีกฎหมายกำหนดให้นำคดีมาสู่ศาลปกครองจึงย่อมเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี โดยที่ศาลปกครองไม่จำต้องวินิจฉัยความเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวอีก ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงตามแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองและให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา 9 อีกวรรคหนึ่งว่า “กรณีคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองนั้น การพิจารณาผู้มีสิทธิฟ้องคดีต้องพิจารณา ตามที่กฎหมายเฉพาะกำหนด ซึ่งบุคคลที่กฎหมายเฉพาะกำหนดให้นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองได้ย่อมถือว่าเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี โดยไม่จำต้องนำบทบัญญัติในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัตินี้มาวินิจฉัยอีก”th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการฟ้องth_TH
dc.subjectการร้องทุกข์ (วิธีพิจารณาคดีปกครอง)--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleการฟ้องคดีปกครองตามกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542th_TH
dc.title.alternativeAdministrative case indictment according administrative court establishment and administrative court procedure, B.E. 2542 (1999)th_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study examines concepts, theories and major principles relating to filing an administrative case, analyzes domestic and foreign laws in relation thereto, and more specifically regarding (1) conditions involving filing administrative cases (2) issues of presenting the case to and for the court to render its ruling or judgment (3) issues where the laws require the administrative body to present a case to the Administrative Court pursuant Section 9, first paragraph, sub-on the Establishment of Administrative Courts and section (6) of the Act Administrative Court Procedure B.E. 2542 (1999). This study also proposes an appropriate guideline for an amendment of provisions of the laws in relation thereto. This independent study is qualitative research. Text books, academic articles, thesis, rulings of courts, related articles and acts, as well as online documents such as websites and other relevant articles both from Thailand and other countries were studied. It was found that cases in jurisdictions of administrative courts pursuant to Section 9, first paragraph, sub-section (6) must follow specific written laws. The section is not clear about conditions of case indictment that is different from other administrative cases. Hence, an issue arises whether the conditions for filing a case pursuant to Section 42 will still have to considered if the case is presented to and for the administrative court to render its ruling or judgment under Section 9, first paragraph, sub-section (6). The study found that the provisions of the specific law which empowers an administrative body to present the case to the court would need to be considered when a case is presented to the court under Section 9, first paragraph, sub-section (6). Accordingly, the person required by the law to bring the case to the Administrative Court is the person who has the capacity to file the case in court and the Administrative Court does not need to consider the capacity as to the right of such person to file the case to the court pursuant to Section 42 of such Act. Therefore, to provide clarification and to solve the issues arose in practice by following the guideline provided by the ruling of the administrative court, the author hereby propose that Section 9 should be amended by adding one more paragraph stipulating that "In the event that the issue in dispute is stipulated by the law to be within the jurisdiction of the Administrative Court, the capacity of the person filing such case to the court must be considered in accordance with a specific law mandating such person. The person mandated by a specific law to file the case to the Administrative Court shall be deemed as having the capacity to do so, and the provision of Section 42 shall not be taken into consideration."en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons