Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3496
Title: การฟ้องคดีปกครองตามกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
Other Titles: Administrative case indictment according administrative court establishment and administrative court procedure, B.E. 2542 (1999)
Authors: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐชยา จันทร์ทอง, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การฟ้อง
การร้องทุกข์ (วิธีพิจารณาคดีปกครอง)--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการสำคัญเกี่ยวกับการฟ้องคดีปกครอง ศึกษากฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทยเกี่ยวกับหลักการสำคัญในการฟ้องคดีปกครอง วิเคราะห์กฎหมายต่างประเทศกับกฎหมายไทยเกี่ยวกับหลักการสำคัญในการฟ้องคดีปกครอง โดยเฉพาะเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง กรณีการเสนอคดีต่อศาลให้มีคำสั่งหรือคำพิพากษา กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ฝ่ายปกครองเสมอคดีต่อศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (6) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542. เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองกรณีการเสนอคดีต่อศาลให้มีคําสั่งหรือค่าพิพากษา กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ฝ่ายปกครองเสนอคดีต่อศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (6) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ให้เหมาะสมต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร จากการศึกษาวิเคราะห์จากเรา หนังสือ วิทยานิพนธ์ คําวินิจฉัยของศาล บทความที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติต่าง ๆ รวมถึงเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เว็บไซต์และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทําของประเทศไทยและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า คดีที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (6) จะต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรอันเป็นกฎหมายเฉพาะกำหนด ซึ่งในมาตราดังกล่าวยังมีความไม่ชัดเจนในประเด็นเกี่ยวกับเงื่อนไขการฟ้องคดีที่แตกต่างจากคดีปกครองประเภทอื่น จึงเกิดปัญหาว่ากรณีการเสนอคดีต่อศาลปกครองให้มีคําสั่งหรือคําพิพากษาตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (6) ต้องพิจารณาเงื่อนไขการฟ้องคดีตามมาตรา 42 อีกหรือไม่ จากการศึกษาพบว่าการเสนอคดีต่อศาลตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (6) จะต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติให้ฝ่ายปกครองเสนอคดีต่อศาลเป็นสำคัญ ทำให้บุคคลที่มีกฎหมายกำหนดให้นำคดีมาสู่ศาลปกครองจึงย่อมเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี โดยที่ศาลปกครองไม่จำต้องวินิจฉัยความเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวอีก ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงตามแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองและให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา 9 อีกวรรคหนึ่งว่า “กรณีคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองนั้น การพิจารณาผู้มีสิทธิฟ้องคดีต้องพิจารณา ตามที่กฎหมายเฉพาะกำหนด ซึ่งบุคคลที่กฎหมายเฉพาะกำหนดให้นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองได้ย่อมถือว่าเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี โดยไม่จำต้องนำบทบัญญัติในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัตินี้มาวินิจฉัยอีก”
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3496
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons