Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3502
Title: | ความซ้ำซ้อนในการจัดทำบริการสาธารณะระหว่างราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น |
Other Titles: | Redundancy of public services between the central government, provincial government, and local government |
Authors: | กมลชัย รัตนสกาววงศ์ ณัฐสิทธิ์ ต่อซอน, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี บริการสาธารณะท้องถิ่น--การจัดการ การปกครองท้องถิ่น การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายเกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะ ศึกษาหลักการจัดทำบริการสาธารณะ กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดทำบริการสาธารณะ ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความซ้ำซ้อนในอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะ หาแนวทางทางแก้ไขปัญหาความซ้ำซ้อนในการจัดทำบริการสาธารณะให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ กฎหมาย หนังสือ ข้อหารือ ความเห็นทางกฎหมาย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ บทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดทําบริการสาธารณะ ผลการศีกษาพบว่า ตามหลักการจัดทําบริการสาธารณะของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่นนั้นมีการแบ่งอำานาจและกระจายอำนาจในการดำเนินการจัดทําบริการสาธารณะ แต่อย่างไรก็ดี ในการจัดทําบริการสาธารณะระหว่างราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่นนั้นก็ยังพบว่ามีความซ้ำซ้อนกันในหลายภารกิจจนเกิดปัญหาการเกี่ยวกันหรือแย่งกันในการจัดทำการจัดทำบริการสาธารณะ จึงเสนอแนะแนวทางแก้ไข คือ ความซ้ำซ้อนระหว่างราชการส่วนกลางกับราชการส่วนท้องถิ่นแก้ไขปัญหาโดยกำหนดให้ราชการส่วนกลางมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย กําหนดมาตรฐานในการจัดทำ บริการสาธารณะ การฝึกอบรม งานวิชาการ และให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่เป็นฝ่ายปฏิบัติการในการจัดทําบริการสาธารณะ หากปัญหาเกิดให้ผู้รักษาการตามกฎหมายของราชการส่วนกลางเป็นผู้วินิจฉัย และความซ้ำซ้อนระหว่างราชการส่วนภูมิภาคกับราชการส่วนท้องถิ่นนั้นแก้ไขปัญหาโดยกำหนดให้ราชการส่วนภูมิภาคมีหน้าที่กํากับดูแลราชการส่วนท้องถิ่นและราชการส่วนภูมิภาคเป็นผู้จัดทําบริการสาธารณะที่เกินศักยภาพของราชการส่วนท้องถิ่น และให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่จัดทําบริการสาธารณะตามศักยภาพ หากมีข้อพิพาทให้ผู้กำกับดูแลราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้วินิจฉัย และให้มีผลผูกพัน โดยไม่ต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3502 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 29.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License