กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3503
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและอุปสรรคในการตราเทศบัญญัติของไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems in enactment of municipal laws
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดวงพร รองเดช, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
เทศบัญญัติ--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัญหาและอุปสรรคในการตราเทศบัญญัติของไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง กระบวนการ ขั้นตอนของการตราเทศบัญญัติ องค์ความรู้ และระเบียบกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องมาใช้ประกอบในการตราเทศบัญญัติ วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการตราเทศบัญญัติทั้งในส่วนของขั้นตอน การริเริ่มและการยกร่างเทศบัญญัติ การตราเทศ บัญญัติ และการบังคับใช้เทศบัญญัติ เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาการตราเทศบัญญัติในประเทศไทยให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ สามารถนําไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ และเป็นแหล่งอ้างอิงตามกฎหมายได้ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) โดยการค้นคว้าจากตำรากฎหมายที่เกี่ยวข้อง เทศบัญญัติ คำพิพากษา คําวินิจฉัย วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ บทความจากวารสาร และสื่ออิเลคทรอนิกส์ต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้มีอำนาจยกร่างเทศบัญญัติขาดองค์ความรู้ในการยกร่างเทศบัญญัติ (2) ก่อนการยกร่างเทศบัญญัติ เทศบาลขาดการสำรวจภารกิจทั้งหมดของเทศบาลที่มีอยู่ (3) ขาดหน่วยงาน องค์กรที่ช่วยเหลือในการยกร่างและตรวจสอบความเหมาะสมของเทศบัญญัติก่อนการประกาศใช้เป็นเทศบัญญัติ (4) การขาดการติดตามผลการบังคับใช้และความจําเป็นในการแก้ไขหรือเพิ่มเติมเทศบัญญัติเรื่องต่าง ๆ แนวทางแก้ไขปัญหา จากข้อค้นพบ สามารถแยกได้ดังนี้ (1) ใน ขั้นตอนของการริเริ่มจัดทําเทศบัญญัติ และการยกร่างเทศบัญญัติ ควรเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน (2) แต่ละเทศบาลควรแต่งคณะกรรมการที่จะช่วยเหลือในการยกร่างเทศบัญญัติและกลับกรองเทศบัญญัติก่อนนําเข้าสู่การพิจารณาของสภาเทศบาล (3) แต่ละเทศบาลควรปรับปรุงเนื้อหาเทศบัญญัติให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจในการจัดทำบริการสาธารณะของเทศบาล (4) ควรสนับสนุนให้นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล และนิติกรประจำเทศบาลเข้ารับ การสัมมนาและฝึกอบรมในเรื่องเทศบัญญัติ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3503
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons