Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3507
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนินาฎ ลีดส์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorถนัดกิจ ยามาลี, 2511--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-02-25T09:39:48Z-
dc.date.available2023-02-25T09:39:48Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3507-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพกับการใช้อำนาจรัฐในการควบคุมผู้ต้องหา เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมผู้ต้องหาตามธรรมนูญศาลทหารหรือกฎหมายของประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมผู้ต้องหาในกรณีพิเศษตามธรรมนูญศาลทหารให้สอดคล้องกับหลักที่เป็นสากล การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร ศึกษาจากการค้นคว้าและวิเคราะห์จากตัวบทกฎหมาย จากหนังสือ บทความทางวิชาการ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ และเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องจากห้องสมุด รวมทั้งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก ขอบเขตของเหตุจำเป็นอย่างอื่นยังไม่มีคํานิยาม ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้นิยามเหตุจําเป็นอย่างอื่นให้หมายรวมถึงเหตุที่อยู่ในสภาวะการรบหรือการปฏิบัติการรบหรือทางทหารในทะเล ประการที่สอง ระยะเวลาในการควบคุมตัว ผู้บังคับบัญชาทหารอาจควบคุมได้นานถึง 84 วัน ซึ่งขัดต่อหลักสากลที่ กําหนดให้ควบคุมตัวไม่เกิน 2-3 วัน หรือ 48-72 ชั่วโมง อาจทำให้กระทบสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาที่ไม่ได้รับการประกันจากศาลในการคุ้มครองสิทธิ์ ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้ควบคุมตัวผู้ต้องหาในระยะเวลาไม่เกิน 48 - 72 ชั่วโมง ถ้าเกินกว่า 72 ชั่วโมง ให้ผู้บังคับบัญชาทหารจะต้องทํารายงานการจดแจ้งเหตุผลในการควบคุมผู้ต้องหามาประกอบการพิจารณาขังผู้ต้องหาของศาลทหาร ประการที่สาม การควบคุมผู้ต้องหาที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร โดยผู้บังคับบัญชาทหารยังไม่มีการบัญญัติวิธีการเพื่อเป็นขอพิจารณาในการควบคุมผู้ต้องหา ซึ่งอาจทำให้ผู้บังคับบัญชาทหารใช้ดุลพินิจ โดยมิชอบในการควบคุมตัวกระทบสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหา ผู้ศึกษาเสนอแนะให้ผู้บังคับบัญชาทหารดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเป็นข้อพิจารณาในการควบคุมตัวและต้องแจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหาทราบ ประการที่สี่ การตรวจสอบอำนาจการควบคุมตัวของผู้บังคับบัญชาทหาร ผู้บังคับบัญชาทหารอาจควบคุมผู้ต้องหาได้ระยะเวลานานถึง 84 วัน ถ้ามีเหตุยังต้องควบคุมผู้ต้องหาอยู่โดยขาดการกลั่นกรองตรวจสอบจากศาล อาจทำให้กระทบสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาได้ โดยเมื่อพ้นระยะเวลา 72 ชั่วโมง ผู้บังคับบัญชาทหารต้องยื่นคำร้องต่อศาลทหารขอหมายขังผู้ต้องหานั้นไว้ให้ศาลสอบถามผู้ต้องหาว่าจะมีข้อคัดค้านประการใด หรือไม่และศาลอาจเรียกผู้บังคับบัญชาทหารมาชี้แจงเหตุจําเป็น หรืออาจเรียกพยานหลักฐานมาเพื่อประกอบการพิจารณาได้ ประการที่ห้า ขาดรายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตของเหตุจำเป็นอย่างอื่น ระยะเวลาในการควบคุมตัวตามหลักสากลในระยะเวลาโดยพลันไม่เกิน 2-3 วัน หรือ 48-72 ชั่วโมง วิธีการขั้นตอนของผู้บังคับบัญชาทหาร เช่น การไต่สวนข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อพิจารณาควบคุมตัว และการตรวจสอบจากองค์กรศาล ผู้ศึกษาเสนอให้บัญญัติเป็นกฎหมายเพิ่มเติมในมาตรา 46 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectผู้ต้องหาth_TH
dc.subjectสิทธิผู้ต้องหาth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleการควบคุมผู้ต้องหากรณีพิเศษตามธรรมนูญศาลทหารกับหลักสิทธิมนุษยชนth_TH
dc.title.alternativeSpecial confinement under the law on court-martial with haman rightsth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis qualitative independent study aims to investigate the issues regarding military accused confinement and to suggest the solutions to improve the disposition of accused confinement by the court-martial in Thailand to be conformed with the international standard. The researcher studied the theoretical notions of liberty restrictions and states' authority on accused confinement and explored the disposition of accused confinement by the court-martial in USA and Thailand. This Independent Study, documentary research was conducted. The researcher studied and analyzed the legal provisions from textbooks, articles, research reports, dissertations, and any electrical forms of concerned information written in Thai and foreign languages. The result syielded 5 important issues. The scope of other necessity circumstances has not yet been defined. The researcher suggested to clearly define other necessity circumstances such as, under operational necessity and on board at sca. The commander is allowed to confine the accused up to 84 days which goes against the international standard. Internationally, the limit of confinement period is 2-3 days or 48-72 hours. Therefore, this issue might affect the accused who is not permitted to bail out toward their rights and liberty. The researcher suggested that the limit of confinement period should be not more than 48-72 hours. If the extension of confinement needed, the commanders should necessarily prepare the written memorandum that states the rationales of extended confinement and submit to the court for reviewing. There are no rules on the disposition of accused confinement by the commanders yet legislated. This issue might have the commanders use their discretion inappropriately. Therefore, the researcher suggested that the commanders should conduct a preliminary inquiry to collect evidences and witnesses in order to request the accused confinement. In addition, the rights of accused need to be informed. As the commanders might confine the accused up to 84 days or more without the court's consideration, this might affect the accused's rights and liberty. By this concern, the researcher suggest that the commanders should necessarily report when the confinement goes over 72 hours to the court. The court might further inquire the accused, have the commander to clarify the necessity to extend the confinement, or ask for witnesses and evidences to have further consideration. As Due to those concerns mentioned in the study, the researcher called for further legitimation in the Article 46 under subsection 1 of the court-martial 2498 B.E.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.84 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons