กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3507
ชื่อเรื่อง: | การควบคุมผู้ต้องหากรณีพิเศษตามธรรมนูญศาลทหารกับหลักสิทธิมนุษยชน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Special confinement under the law on court-martial with haman rights |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชนินาฎ ลีดส์ ถนัดกิจ ยามาลี, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้ต้องหา สิทธิผู้ต้องหา การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพกับการใช้อำนาจรัฐในการควบคุมผู้ต้องหา เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการควบคุมผู้ต้องหาตามธรรมนูญศาลทหารหรือกฎหมายของประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมผู้ต้องหาในกรณีพิเศษตามธรรมนูญศาลทหารให้สอดคล้องกับหลักที่เป็นสากล การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร ศึกษาจากการค้นคว้าและวิเคราะห์จากตัวบทกฎหมาย จากหนังสือ บทความทางวิชาการ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ และเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องจากห้องสมุด รวมทั้งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก ขอบเขตของเหตุจำเป็นอย่างอื่นยังไม่มีคํานิยาม ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้นิยามเหตุจําเป็นอย่างอื่นให้หมายรวมถึงเหตุที่อยู่ในสภาวะการรบหรือการปฏิบัติการรบหรือทางทหารในทะเล ประการที่สอง ระยะเวลาในการควบคุมตัว ผู้บังคับบัญชาทหารอาจควบคุมได้นานถึง 84 วัน ซึ่งขัดต่อหลักสากลที่กําหนดให้ควบคุมตัวไม่เกิน 2-3 วัน หรือ 48-72 ชั่วโมง อาจทำให้กระทบสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาที่ไม่ได้รับการประกันจากศาลในการคุ้มครองสิทธิ์ ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้ควบคุมตัวผู้ต้องหาในระยะเวลาไม่เกิน 48 - 72 ชั่วโมง ถ้าเกินกว่า 72 ชั่วโมง ให้ผู้บังคับบัญชาทหารจะต้องทํารายงานการจดแจ้งเหตุผลในการควบคุมผู้ต้องหามาประกอบการพิจารณาขังผู้ต้องหาของศาลทหาร ประการที่สาม การควบคุมผู้ต้องหาที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร โดยผู้บังคับบัญชาทหารยังไม่มีการบัญญัติวิธีการเพื่อเป็นขอพิจารณาในการควบคุมผู้ต้องหา ซึ่งอาจทำให้ผู้บังคับบัญชาทหารใช้ดุลพินิจ โดยมิชอบในการควบคุมตัวกระทบสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหา ผู้ศึกษาเสนอแนะให้ผู้บังคับบัญชาทหารดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเป็นข้อพิจารณาในการควบคุมตัวและต้องแจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหาทราบ ประการที่สี่ การตรวจสอบอำนาจการควบคุมตัวของผู้บังคับบัญชาทหาร ผู้บังคับบัญชาทหารอาจควบคุมผู้ต้องหาได้ระยะเวลานานถึง 84 วัน ถ้ามีเหตุยังต้องควบคุมผู้ต้องหาอยู่โดยขาดการกลั่นกรองตรวจสอบจากศาล อาจทำให้กระทบสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหาได้ โดยเมื่อพ้นระยะเวลา 72 ชั่วโมง ผู้บังคับบัญชาทหารต้องยื่นคำร้องต่อศาลทหารขอหมายขังผู้ต้องหานั้นไว้ให้ศาลสอบถามผู้ต้องหาว่าจะมีข้อคัดค้านประการใด หรือไม่และศาลอาจเรียกผู้บังคับบัญชาทหารมาชี้แจงเหตุจําเป็น หรืออาจเรียกพยานหลักฐานมาเพื่อประกอบการพิจารณาได้ ประการที่ห้า ขาดรายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตของเหตุจำเป็นอย่างอื่น ระยะเวลาในการควบคุมตัวตามหลักสากลในระยะเวลาโดยพลันไม่เกิน 2-3 วัน หรือ 48-72 ชั่วโมง วิธีการขั้นตอนของผู้บังคับบัญชาทหาร เช่น การไต่สวนข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อพิจารณาควบคุมตัว และการตรวจสอบจากองค์กรศาล ผู้ศึกษาเสนอให้บัญญัติเป็นกฎหมายเพิ่มเติมในมาตรา 46 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3507 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.84 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License