Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3509
Title: | การศึกษาความเป็นนิติบุคคลในทางกฎหมายมหาชนของสถานศึกษาของรัฐต่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
Other Titles: | Study on an entity in public law of state Educational Institutions for Management of basic education |
Authors: | ภัฏฐิญา สิริบวรพิพัฒน์ ทนง ถวาย, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี โรงเรียนรัฐบาล--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | วัตถุประสงค์การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ เป็นการศึกษาความเป็นนิติบุคคลในทางกฎหมายมหาชนของสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล 2) เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความเป็นนิติบุคลของสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลของรัฐที่ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการวิจัยในเรื่องนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยดำเนินการศึกษาค้นคว้าเอกสาร ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเอกสาร โดยศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารปฐมภูมิ ได้แก่ รัฐธรรมนูญ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน กฏและระเบียบต่าง ๆ ตลอดจนเอกสารทุติยภูมิ ได้แก่ ตำรา บทความทางวิชาการ รายงานการวิจัย และสื่ออิเลคทรอนิกส์สารสนเทศ (Internet) ที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษาในครั้งนี้ ผลจากการที่ได้ศึกษาพบว่า การที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 กำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาเป็นนิติบุคคลโดยบัญญัติไว้ในมาตรา 35 นั้น มีเจตนารมณ์กำหนดให้ สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล เพื่อให้สถานศึกษามีความเป็นอิสระ คล่องตัว สามารถบริหารและจัดการศึกษาในสถานศึกษาได้สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพตามหลักการกระจายอำนาจ แต่การกระจายอำนาจสู่สถานศึกษายังไม่เป็นไปตามหลักการ กระจายอำนาจที่แท้จริงเป็นลักษณะการมอบอ่าน ๆ ส่วนกลางและเขตพื้นที่การศีกษายังคงมีอำนาจต่อสถานศึกษาอยู่มากกรรมการสถานศึกษาไม่สามารถปฏิบัติงานตามบทบาทที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะการกำหนดทิศทางและนโยบาย กฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่เอื้อต่อการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ฉะนั้นกระทรวงศึกษาธิการ ควรกระจายอำนาจตามที่กฎหมายกำหนด ควรลดบทบาทในการปฏิบัติ มุ่งเน้นการกํากับนโยบายและวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและมาตรฐานการศึกษา ควรปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการ กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา และควรจัดทำคู่มือการบริหารจัดการศึกษาโดยกำหนดบทบาทอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจนระหว่างส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3509 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License