กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/351
ชื่อเรื่อง: ผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชนหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of a caring model for patients with chronic obstructive pulmonary disease in communities after discharged from Sungaipadi Hospital, Narathiwat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
รสสุคนธ์ แสงมณี, อาจารย์ที่ปรึกษา
เพ็ญศิริ สิริกุล, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์
ปอด--โรค
ปอดอุดกั้น--ผู้ป่วย--การดูแล
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง--การดูแล
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน หลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ต่ออัตราการได้รับการเยี่ยมบ้าน อัตราการกำเริบของโรคเฉียบพลัน และอัตราการเข้ารักษาซ้ำก่อน 28 วัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ใน อำเภอสุไหงปาดี หมู่บ้านละ 1 คน จำนวน 5 คน และผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษา ในแผนกผู้ป่วยในและจำหน่ายจากโรงพยาบาลสุไหงปาดี จำนวน 41 คน เป็นกลุ่มทดลอง 17 คน ที่ได้รับรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน และกลุ่มควบคุม 24 คน ที่ได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหลังจำหน่าย และสมุดบันทึกประจำตัวผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Z- test ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตราการได้รับการเยี่ยมบ้านของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในกลุ่มทดลองที่สูงกว่า ผู้ป่วยในกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) 2) อัตราการกำเริบของโรคเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในกลุ่มทดลอง และในกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และ 3) อัตราการเข้ารักษาซ้ำก่อน 28 วัน ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในกลุ่มทดลองต่ำกว่าผู้ป่วยในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/351
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons