Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/352
Title: การแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำโครงงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
Other Titles: Information seeking in conducting research projects by undergraduate students of Prince of Songkla University, Surat Thani Campus
Authors: ทัศนา หาญพล, อาจารย์ที่ปรึกษา
น้ำทิพย์ วิภาวิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุณยนุช ดิษกุล, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
สารสนเทศ
การค้นคืนสารสนเทศ--การศึกษาการใช้
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำโครงงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี (2) เปรียบเทียบการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำโครงงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี จำแนกตามเพศและคณะที่ศึกษา (3) ศึกษาปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำโครงงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี (4) เปรียบเทียบปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศ เพื่อการทำโครงงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี จำแนกตาม เพศและคณะที่ศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 688 คน เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปี ที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และคณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต สุราษฎร์ธานี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเกี่ยวกับโครงงานในภาคการศึกษาที่ 2 ปี การศึกษา 2559 เก็บข้อมูลได้จำนวน 601 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที โดยใช้ตัวแบบการแสวงหาสารสนเทศของเอลลิสเป็นแนวทางการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ( 1) นักศึกษามีการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำโครงงานโดยรวมอยูในระดับมาก ่ ยกเว้น 1 ด้าน อยูในระดับปานกลาง คือ ด้านการสำรวจเลือกดูสารสนเทศ ( 2) นักศึกษาเพศชายและนักศึกษาเพศหญิง มีการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำโครงงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้น 1 ข้อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 คือ การเริ่มต้นแสวงหาสารสนเทศโดยนักศึกษาหญิงมีการเริ่มต้นแสวงหาสารสนเทศเร็วกว่า นักศึกษาชาย สำหรับนักศึกษาที่คณะต่างกันมีการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำโครงงานโดยรวมไม่แตกต่างกันยกเว้น 2 ข้อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุตสาหกรรมมีการสำรวจเลือกดูสารสนเทศมากกวานักศึกษาคณะ ่ศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ และนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการมีการจบการแสวงหาสารสนเทศมากกว่านักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุตสาหกรรม (3) ปัญหาที่นักศึกษาประสบในระดับมาก คือ สารสนเทศประเภทหนังสือในห้องสมุดมีน้อย อินเทอร์เน็ตช้า/เครือข่ายขัดข้อง และขาดทักษะด้านภาษาอังกฤษ (4) การเปรียบเทียบปัญหาในการแสวงหา สารสนเทศเพื่อการทำโครงงานของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงมีปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำโครงงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้น 3ข้อ แตกต่างกันน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 คือ การสำรวจเลือกดู การตรวจสอบ และการจบการแสวงหาโดยนักศึกษาหญิงมีปัญหามากกว่านักศึกษาชาย สำหรับ นักศึกษาที่คณะต่างกัน มีปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศโดยรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้น 3 ข้อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 คือ การสารวจเลือกดูการดึงสารสนเทศออกมา และการจบการแสวงหา โดยนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมีปัญหามากกวานักศึกษาคณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560.
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/352
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
157771.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.23 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons