กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/354
ชื่อเรื่อง: | คุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Expectations and perceptions of service quality of the customers in the out-patient department at a private hospital, Udon Thani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข, อาจารย์ที่ปรึกษา มุกดา หนุ่ยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา พิกุล รัตถาพิมพ์, 2510- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาลเอกชน--ไทย บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคาดหวังและการรับรู้ คุณภาพบริการของผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอก (2) เปรียบเทียบความคาดหวังกับการรับรู้คุณภาพ บริการของผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 273 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 เท่ากับ 0.90 และ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ใช้บริการมีความคาดหวังต่อคุณภาพการบริการโดยภาพรวมอยูในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคาดหวังต่อคุณภาพการบริการมากที่สุด คือ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการ รองลงมาคือด้านความเอาใจใส่ต่อผู้รับบริการ และด้านที่มีความคาดหวังต่อคุณภาพการบริการน้อยที่สุด คือ ด้านความเป็นรูปธรรมในการให้บริการ (2) ผู้ใช้บริการมีการรับรู้สภาพความเป็นจริงของคุณภาพบริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคาดหวังต่อคุณภาพการบริการสูงที่สุด คือ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการ รองลงมา คือ ด้านความไว้วางใจได้ของการให้บริการ และด้านที่มีการรับรู้สภาพความเป็นจริงของ คุณภาพบริการต่ำที่สุด คือด้านความเป็นรูปธรรมในการให้บริการ (3) ผู้ใช้บริการมีความคาดหวังสูงกว่า การรับรู้คุณภาพบริการตามสภาพความเป็นจริง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำเพื่อนำผลมาวางแผนพัฒนาคุณภาพบริการ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/354 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.69 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License