Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/357
Title: บทบาทของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตั้งแต่ พ.ศ. 2550-2557
Other Titles: he role of the Democratic Party branch in Mae Sod District, Tak Province from 2550-2557 B.E.
Authors: เสนีย์ คำสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปธาน สุวรรณมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
มงคล ต๊ะสุ, 2522- 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: พรรคประชาธิปัตย์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษาบทบาทของสาขาพรรคประชาธิปัตย์ ตามกรอบของ รัฐธรรมนญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรค การเมืองพ.ศ.2550 ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก (2) ศึกษาปัญหา อุปสรรคในการทำบทบาทของสาขาพรรค ประชาธิปัตย์ (3) เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยพบว่า (1) สาขาพรรคประชาธิปัตย์ อำเภอแม่สอด ได้ทำบทบาททางการเมืองด้านการรับและการสรรหาบุคคลเข้าเป็นสมาชิกพรรค การให้ความรู้ทางการเมือง การเป็นตัวเชื่อมและการรับฟังปัญหาความเดือดรัอน จากสมาชิกพรรคละประชาชน การเผยแพร่กิจกรรม นโยบายของพรรค การช่วยรณรงค์หาเสียงให้กับผู้สมัครรับเลอกตั้ง และการทำบทบาททั่ว ๆ ไป (2) ในการทำบทบาททางการเมืองของสาขาพรรคประชาธิปัตย์พบปัญหาอุปสรรค ซึ่งสามารถแยกเป็น 2 ส่วน คือ จากปัจจัยภายในและจากปัจจัยภายนอก ซึ่งปัจจัยภายในคืองบประมาณในการสนับสบุนกิจกรรมน้อย ขาดการติดต่อและการวางแผนคณะกรรมการสาขาพรรคไม่ได้เข้ามาปฎิบัติหน้าที่ทุกวันเนื่องจากไม่ได้รับค่าตอบแทน และต้องประกอบอาชีพของตน และยังขาดความความชำนาญ ในการปฏิบัติงาน ปัจจัยภายนอกคือ ในเรี่องของกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ไม่เอื้ออำนวยต่อสาขาพรรค การไม่ได้รับ ความร่วมมือจากบุคคลในพื้นที่เท่าที่ควร ขาดการวางแผนที่ตรงต่อเวลาและสถานที่ รวมทั่งระยะทางที่ไม่สะดวก ต่อการลงพื้นที่ซึ่งบางพื้นที่ก็เข้าไปไม่ทั่วถึง ขาดการติดต่อประสานงานกับแกนนำทำให้เกิดความล่าช้า และ สถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน (3) แนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคของสาขาพรรค คือ สำนักงานใหญ่ของพรรค ต้องเห็นความสำคัญของสาขาพรรค มีนโยบายการดำเนินกิจกรรมที่ชัดเจน มีการสนับสบุนงบประมาณที่เพียงพอ ต่อการดำเนินกิจกรรมและสาขาพรรคก็ควรมีการพัฒนาความความเข้าใจในการทำงานมีการประสานความ ร่วมมือกับแกนนำในห้องที่ต่าง ๆ มีการวางแผนกิจกรรมที่ชัดเจน ซึ่งต้องมีการติดต่อประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง ยอมรับกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง ๆ และควรมีการส่งเสริมความ เกี่ยวกับการปกครองในระบบประชาธิปไตยใต้กับประชาชนทั่วไปได้รับและเข้าใจอย่างถูกต้อง
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/357
Appears in Collections:Pol-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
148157.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.01 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons