Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3598
Title: ผลของวัสดุเพาะและวิธีการเพาะชำที่มีต่อการงอกของเมล็ดหวายฝาด
Other Titles: Effects of sowing media and seeding methods on seed germination of Daemonorops lewissiana (Griff.) Mart.
Authors: ชัยวัฒน์ คงสม, อาจารย์ที่ปรึกษา
อิงอร ไชยเยศ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นัทวุฒิ อินทรรุจิกุล, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์
หวายฝาด--การชำ
การงอกของเมล็ด
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลร่วมระหว่างวัสดุเพาะและวิธีการเพาะชำต่ออัตราการงอก ระยะเวลาการงอก และความพร้อมในการย้ายชำของกล้าหวายฝาด และ 2) เพื่อศึกษาวัสดุเพาะและวิธีการเพาะชำเมล็ดหวายฝาดที่เหมาะสม การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์และจัดทรีทเม้นท์ แบบ 4×4 แฟคทอเรียล จำนวน 16 ทรีทเม้นท์คอมบิเนชั่น จำนวน 3 ซ้า รวม 48 หน่วยทดลอง วัสดุเพาะได้แก่ ทราย แกลบดำ ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว และวิธีการเพาะชำได้แก่ การใช้เมล็ดไม่แคะตาและคลุมพลาสติก การใช้เมล็ดไม่แคะตาและไม่คลุมพลาสติกกับเมล็ดแคะตา การใช้เมล็ดแคะตาและคลุมพลาสติก และการใช้เมล็ดแคะตาและไม่คลุมพลาสติก วิเคราะห์ความแปรปรวนและวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ LSD การศึกษาวัสดุเพาะและวิธีการเพาะชำที่เหมาะสมใช้ค่าถ่วงน้ำหนักและมาตรวัดแบบลิเคิร์ท ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลของการใช้ทรายเป็นวัสดุเพาะกับวิธีการเพาะชำที่ใช้เมล็ดไม่แคะตาและคลุมพลาสติกหรือไม่คลุมพลาสติกทำให้อัตราการงอกเฉลี่ยของเมล็ดหวายฝาดสูงถึงร้อยละ 71.67 และ 70.33 ตามลำดับ (p<0.05) ผลของการใช้ขุยมะพร้าวกับวิธีการเพาะชำที่ใช้เมล็ดแคะตาและไม่คลุมพลาสติก และการใช้แกลบดำกับวิธีการเพาะชาที่ใช้เมล็ดแคะตาและไม่คลุมพลาสติกทาให้ระยะเวลาในการงอกเฉลี่ยของเมล็ดหวายฝาดสั้นเพียง 63.75 และ 83.66 วัน ตามลาดับ (p<0.05) ส่วนผลของการใช้ทรายกับวิธีเพาะชาที่ใช้เมล็ดไม่แคะตาและไม่คลุมพลาสติก การใช้ทรายกับวิธีเพาะชำที่ใช้เมล็ดแคะตาและไม่คลุมพลาสติก การใช้แกลบดำกับวิธีเพาะชำที่ใช้เมล็ดไม่แคะตาและไม่คลุมพลาสติก การใช้ขี้เลื่อยกับวิธีเพาะชำที่ใช้เมล็ดไม่แคะตาและคลุมพลาสติก การใช้ขุยมะพร้าวกับวิธีเพาะชำที่ใช้เมล็ดไม่แคะตาและคลุมพลาสติก การใช้ขี้เลื่อยกับวิธีเพาะชำที่ใช้เมล็ดไม่แคะตาและไม่คลุมพลาสติก การใช้แกลบดำกับวิธีเพาะชำที่ใช้เมล็ดไม่แคะตาและคลุมพลาสติก การใช้ทรายกับวิธีเพาะชำที่ใช้เมล็ดไม่แคะตาและคลุมพลาสติก และการใช้ขุยมะพร้าวกับวิธีเพาะชำที่ใช้เมล็ดไม่แคะตาและไม่คลุมพลาสติก ทำให้ความพร้อมในการย้ายชำของหวายฝาดใช้เวลาเฉลี่ยระหว่าง 7.00 – 7.49 วัน (p<0.05) 2) การใช้ทรายผสมวิธีการเพาะชำที่ใช้เมล็ดไม่แคะตาและคลุมพลาสติก หรือไม่คลุมพลาสติก และการใช้ขุยมะพร้าวผสมวิธีการเพาะชำที่ใช้เมล็ดไม่แคะตาและคลุมพลาสติก มีความเหมาะสมในระดับมากสำหรับการเพาะชำเมล็ดหวายฝาด
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3598
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons