Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/359
Title: การพยากรณ์ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล
Other Titles: Complications of diabetic patients using data mining techniques
Authors: วิภา เจริญภัณฑารักษ์
ชฏิภกรน์ ทรายหมอ, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
วิทยา พรพัชรพงศ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์
ดาต้าไมนิง
การแพทย์--การประมวลผลข้อมูล
เบาหวาน--ภาวะแทรกซ้อน
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบจำลองพยากรณ์ภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นหลังจากที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 2) นำแบบจำลองที่ได้ไปทดลองใช้กบกลุ่มงานอายุรกรรม ห้องตรวจผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลปทุมธานี วิธีการดำเนินการวิจัย 1) ทำความเข้าใจปัญหาที่ดำเนินงาน การตรวจรักษาของแพทย์ต่อผู้ป่วยและโครงสร้างข้อมูลของการจัดเก็บประวัติการรักษา เพื่อสร้างแบบจำลองให้ตรงตามความเป็นจริง 2) จัดเตรียมข้อมูลให้มีความถูกต้อง โดยทำความเข้าใจปัญหาที่ดำเนินงาน ทั้งนี้ข้อมูลที่ใช้ในการสร้างแบบจำลองพยากรณ์ภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นหลังจากที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน จะนำมาจากข้อมูลผลตรวจการวินิจฉัยโรคเบาหวานตั้งแต่ที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ของโรงพยาบาลปทุมธานี 3) สร้างแบบจำลองตัวแปรที่สำคัญได้แก่ จำนวนครั้งการมาตรวจรักษากับแพทย์ จำนวนโรคที่ทำการลงทะเบียนผู้ป่วยเบาหวานเท่านั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรม WEKA เพื่อพยากรณ์ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน MicroSoft Visual Foxpro เพื่อจัดเก็บข้อมูลผลการตรวจวินิจฉัยโรค Microsoft Execl 2010 สำหรับสร้างแบบจำลองพยากรณ์ภาวะแทรกของผู้ป่วยเบาหวาน 4) เปรียบเทียบผลการพยากรณ์ โดยวิธีการหาความสัมพันธ์ของข้อมูลระหว่าง Apriori Algorithm และ FPGrowth Algorithm 5) ทดสอบกับผลการพยากรณ์สถานการณ์จริง นำเสนอผลการพยากรณ์โอกาสการเกิดโรคอื่นที่เกี่ยวข้องจากการเป็นโรคเบาหวาน ทดลองใช้ ตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ถึง 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 กับกลุ่มงานอายุรกรรม ห้องตรวจผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาล ปทุมธานี ผลการพยากรณ์ความสัมพันธ์ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานหลังจากที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลปทุมธานี พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรค 1) เบาหวานชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลิน ร่วมกับภาวะแทรกซ้อนทางตา (รหัสโรค E103) แล้วจะเป็นโรคแทรกซ้อนดังนี้ 1.1) โรคจอตาจากโรคเบาหวานชนิดไม่งอกขยายหรือเอ็นพีดีอาร์ (รหัสโรค H3600) คิดเป็น 65 % 1.2) โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ (รหัสโรค H251) คิดเป็น 46 % 1.3) โรคจอตาจากโรคเบาหวานชนิดงอกขยายหรือพีดีอาร์ (รหัสโรค H3602) คิดเป็น 44 % 2) โรคเบาหวานชนิดที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน ร่วมกับภาวะแทรกซ้อนทางตา (รหัสโรค E113) แล้วจะเป็นโรคแทรกซ้อน 2.1) โรคจอตาจากโรคเบาหวานชนิดไม่งอกขยาย (รหัสโรค H3600) คิดเป็น 77 % 2.2) โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ (รหัสโรค H251) คิดเป็น 49 % 2.3) โรคจอตาจากโรคเบาหวานชนิดงอกขยาย (รหัสโรค H3602) คิดเป็น 36 % 2.4) โรคไตวายเรื้อรังที่มิได้ระบุรายละเอียด (รหัสโรค N189) คิดเป็น 20 % 3) โรคเบาหวานชนิดที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน ร่วมกับภาวะแทรกซ้อนทางประสาท (รหัสโรค E114) แล้วจะเป็นโรคแทรกซ้อน 3.1) โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ (รหัสโรค H251) คิดเป็น 24 % 3.2) โรคหัวใจขาดเลือดเรื้อรังที่มิได้ระบุรายละเอียด (รหัสโรค I251) คิดเป็น 20 % ข้อเสนอแนะงานวิจัยควรนำข้อมูลประวัติการรักษาด้านอื่น ข้อมูลประชากร พื้นที่อื่นไม่เฉพาะเจาะจงมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ควรเลือกใช้เทคนิคการสร้างเหมืองข้อมูลรูปแบบอื่น ในการค้นหาความสัมพันธ์ของข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวัดความถูกต้องของการพยากรณ์ต่อไป
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/359
Appears in Collections:Science Tech - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_143923.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.64 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons