Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3607
Title: การผลิตข้าวอินทรีย์ตามมาตรฐาน EU Regulation 834/07 และมาตรฐาน NOP - USDA Organic Standards ของนายทวี มานุช จังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: Organic rice production in accordance with EU Regulation 834/07 and NOP - USAD Organic Standards of Mr.Thawi Manuch, Ubon Ratchathani Province
Authors: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิตติมา วงษ์หนองหว้า, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: วัตถุประสงค์ของวิจัยเพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานของนายทวี มานุช 2) กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ตามมาตรฐาน EU Regulation 834/07 และมาตรฐาน NOP – USDA Organicstandards ของนายทวี มานุช 3) กระบวนการขอรับรองมาตรฐาน EU Regulation 834/07 และมาตรฐาน NOP – USDA Organic Standards ของนายทวี มานุช 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการได้รับการรับรองมาตรฐานของนายทวี มานุช การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกของเกษตรกรเจ้าของพื้นที่ที่เป็นเกษตรกรผู้ผลิตข้าวได้รับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสหภาพยุโรป EU Regulation 834/07 และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สหรัฐอเมริกา NOP– USDA Orgnicstandards คือ นายทวี มานุช เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดหมวดหมู่ข้อมูล การเปรียบเทียบ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ การศึกษาความเป็นเหตุและผล การอธิบายให้ความหมาย ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรมีพื้นที่ทำนา 8 ไร่ ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย รูปแบบนาเป็นนาน้ำฝน สภาพสังคมอยู่แบบครอบครัวใหญ่ใช้แรงงานในครอบครัวทำนา 2) กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ ได้ดำเนินการตามมาตรฐานที่กำหนด โดยมีขั้นตอน ดังนี้ (1) การเตรียมดิน (2) การเตรียมเมล็ดพันธุ์กล้า (3) การทำนาหว่านข้าวแห้ง (4) การดูแลรักษา (5) การเก็บเกี่ยว (6) การนวดข้าว (7) การตากข้าวเพื่อลดความชื้น (8) การบรรจุ การเก็บรักษา และการส่งมอบข้าวเปลือก 3) กระบวนการการขอรับรองมาตรฐาน EU Regulation 834/07 และมาตรฐาน NOP – USDA Organic Standards เป็นการรับรองแบบกลุ่ม มีขั้นตอนดังนี้ (1) สมัครสมาชิกสหกรณ์การเกษตรไร้สารเคมี จากัด (2) เข้าประชุมชี้แจงโครงการ (3) สมัครสมาชิกเข้าร่วมโครงการการผลิตข้าวอินทรีย์กับสหกรณ์ฯ (4) เข้าอบรมการทำนาอินทรีย์ (5) ตรวจประเมินแปลงนา แบ่งออกเป็นการตรวจสอบมาตรฐานระดับกลุ่มย่อย รายงานการตรวจฟาร์ม มีการสุ่มตรวจกลุ่ม การรับรองผลการตรวจสอบภายใน และการตรวจเอกสารโดยเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จมีปัจจัยความสำเร็จภายใน 3 ด้านคือ (1) ด้านคุณลักษณะเฉพาะของเกษตรกร (2) ด้านความรู้ความสามารถ และ (3) ด้านครอบครัว และปัจจัยความสำเร็จภายนอก 4 ด้านคือ (1) ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ (2) ด้านการควบคุมดูแลจากกลุ่มสหกรณ์การเกษตรไร้สารเคมี จากัด (3) ด้านการสร้างเครือข่ายของเกษตรกร (4) ปัจจัยอื่น ๆ เช่น เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3607
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.75 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons