กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3635
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการส่งเสริมการผลิตทุเรียนของเกษตรกร ในจังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension needs of durian production for farmers in Chumphon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชฎารัตน์ พรหมศิลา, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ทุเรียน--ไทย--ชุมพร--การผลิต.
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานข้อมูลส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) กระบวนการผลิตทุเรียน 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของกระบวนการผลิตทุเรียน 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะ 5) ความต้องการความรู้และวิธีการส่งเสริมการผลิตทุเรียนของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร ปี 2561 จำนวน 23,170 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.06 ได้ตัวอย่างจำนวน 274 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.70 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีประสบการณ์ในการปลูกทุเรียนเฉลี่ย 14.67 ปี มีรายได้จากการทำอาชีพในภาคการเกษตรเฉลี่ย 423,193.43 บาทต่อปี ต้นทุนในการผลิตทุเรียน ในปี 2561 เฉลี่ย 17,605.33 บาทต่อไร่ เป็นสมาชิกกลุ่มของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ลักษณะพื้นที่ปลูกเป็นที่ราบและที่ลาดชัน ปลูกทุเรียนด้วยวิธีการขุดหลุม วางระบบนํ้าและใช้ระบบนํ้าแบบสปริงเกอร์ ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ เก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมของปี โดยใช้การนับอายุ จำหน่ายผลผลิตแบบเหมาสวนให้กับล้ง 3) ระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตทุเรียน พบว่าเกษตรกรให้ความสำคัญในระดับมากที่สุด ได้แก่ การป้องกันกำจัดโรคพืช การดูแลรักษาในระยะออกดอกถึงระยะก่อนการเก็บเกี่ยว และการผลิตทุเรียนตามมาตรฐาน GAP 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตทุเรียนเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การจัดการศัตรูพืชและโรคพืช และการจัดการระบบนํ้าในแปลง 5) เกษตรกรมีความต้องการความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนคุณภาพ และการจัดการแมลงศัตรูพืชและโรคพืช ทางช่องทางสื่อบุคคล และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต้องการวิธีการส่งเสริมโดยการบรรยาย สาธิต ฝึกปฏิบัติ และทัศนศึกษา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3635
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons