กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3689
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกโดยผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems of the administrators in registration of rights and juristic acts concerning the inherited immovable property
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สราวุธ ปิติยาศักดิ์
ทันวดี เกษศิริ, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
มรดก
อสังหาริมทรัพย์
นิติกรรม
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การค้นคว้าอิสระเรื่องปัญหาการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกโดยผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาลมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงความหมาย ความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก รวมถึงความหมาย ประเภท แนวคิด และประโยชน์ของการประกาศ (2) ศึกษาถึงบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกาศตามประมวลกฎหมายที่ดิน (3) วิเคราะห์กฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศในการจัดการทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกโดยค่ำสั่งศาลและปัญหาในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกโดยผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาลของไทย (4) ศึกษา เสนอแนวทางและวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกโดยผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาล การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูลจากบทบัญญัติของกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเก็บข้อมูลจากหนังสือ คำพิพากษาศาล ตาราทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ เอกสาร และบทความที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสืบค้นข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรืออินเตอร์เน็ต (Internet) ผลการศึกษาพบว่าการเพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกตามมาตรา 82 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน หรือปัญหาการเพิกถอนการจดทะเบียนขายทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากทายาทอื่นมิได้รู้เห็นยินยอมในการโอนมรดกหรือการขายทรัพย์มรดกดังกล่าวด้วย เพราะกฎหมายกำหนดไว้เพียงว่าให้ผู้จัดการมรดกและทายาทผู้ขอหรือผู้ซื้อ นำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินพร้อมด้วยหลักฐานที่เกี่ยวข้องมายื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หากพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนและตรวจสอบหลักฐานดังกล่าวแล้วนิติกรรมที่คู่กรณีนำมาขอจดทะเบียนไม่เป็นโมฆะกรรมก็สามารถดำเนินการให้ตามความประสงค์ของผู้ขอได้ ซึ่งการขอรับโอนมรดกโดยผู้จัดการมรดกไม่ต้องมีประกาศดังเช่นมาตรา 81 ซึ่งหากได้มีการประกาศการขอรับโอนมรดกหรือการขายทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกตามสถานที่ต่าง ๆ จะเป็นการคุ้มครองสิทธิและเป็นธรรมแก่ทายาทอื่นที่มีสิทธิรับมรดกก่อนการโอนมรดกหรือก่อนการขายทรัพย์มรดก ทั้งยังช่วยลดปัญหาการเพิกถอนการจดทะเบียนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นเพิ่มช่องทางให้ทายาทอื่นได้รับทราบคำสำคัญ โอนมรดกที่ดิน ผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาลการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3689
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม42.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons