Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3689
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสราวุธ ปิติยาศักดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorทันวดี เกษศิริ, 2521--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-04T11:07:38Z-
dc.date.available2023-03-04T11:07:38Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3689-
dc.description.abstractการค้นคว้าอิสระเรื่องปัญหาการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกบอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกโดยผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาลมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงความหมาย ความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก รวมถึงความหมาย ประเภท แนวคิด และประโยชน์ของการประกาศ (2) ศึกษาถึงบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกาศตามประมวลกฎหมายที่ดิน (3) วิเคราะห์กฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศในการจัดการทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกโดยค่ำสั่งศาลและปัญหาในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกโดยผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาลของไทย (4) ศึกษา เสนอแนวทางและวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกโดยผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาล การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูลจากบทบัญญัติของกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเก็บข้อมูลจากหนังสือ คำพิพากษาศาล ตาราทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ เอกสาร และบทความที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสืบค้นข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรืออินเตอร์เน็ต (Internet) ผลการศึกษาพบว่าการเพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกตามมาตรา 82 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน หรือปัญหาการเพิกถอนการจดทะเบียนขายทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากทายาทอื่นมิได้รู้เห็นยินยอมในการโอนมรดกหรือการขายทรัพย์มรดกดังกล่าวด้วย เพราะกฎหมายกาหนดไว้เพียงว่าให้ผู้จัดการมรดกและทายาทผู้ขอหรือผู้ซื้อ นำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินพร้อมด้วยหลักฐานที่เกี่ยวข้องมายื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หากพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนและตรวจสอบหลักฐานดังกล่าวแล้วนิติกรรมที่คู่กรณีนำมาขอจดทะเบียนไม่เป็นโมฆะกรรมก็สามารถดำเนินการให้ตามความประสงค์ของผู้ขอได้ ซึ่งการขอรับโอนมรดกโดยผู้จัดการมรดกไม่ต้องมีประกาศดังเช่นมาตรา 81 ซึ่งหากได้มีการประกาศการขอรับโอนมรดกหรือการขายทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกตามสถานที่ต่าง ๆ จะเป็นการคุ้มครองสิทธิและเป็นธรรมแก่ทายาทอื่นที่มีสิทธิรับมรดกก่อนการโอนมรดกหรือก่อนการขายทรัพย์มรดก ทั้งยังช่วยลดปัญหาการเพิกถอนการจดทะเบียนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นเพิ่มช่องทางให้ทายาทอื่นได้รับทราบคำสำคัญ โอนมรดกที่ดิน ผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาลการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมรดกth_TH
dc.subjectอสังหาริมทรัพย์th_TH
dc.subjectนิติกรรมth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleปัญหาการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกโดยผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาลth_TH
dc.title.alternativeProblems of the administrators in registration of rights and juristic acts concerning the inherited immovable propertyth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this independent study are: 1) to examine definitions, background and theoretical concepts of the registration of rights and juristic acts related to inherited immovable property and related notices; 2) to understand legislation related to the registration of rights and juristic acts for inherited immovable property and land code notices; 3) to analyze the contents of Thai and international laws relating to the handling of heritages by administrators in order to uncover problems arising from the registration of rights and juristic acts related to inherited immovable property; and 4) to propose a solution to these problems in the rights and juristic acts related to the registration of immovable property. The qualitative study focused on documentary legal research. It was conducted by analyzing documents—including textbooks, theses, articles in journals, court judgments, and electronic documents on the Internet—related to the topic. The study found problems in the derogation of legacy transfer registration under the 82nd section of the Land Codes, particularly the illegal sale of legacy registrations by administrators. One reason for this is that not all the legatees know of or have consent for such acts. According to existing laws, transfer acts are legitimate once a valid title deed and related documents have been shown to and approved by the concerned officer. The transfer acts can be done either by the administrator and one of the legatees or the buyer. This practice does not presently require notification of a transfer or sale, as indicated in the Land Codes section 81. To solve this problem, it is suggested that any legacy transfer or sale notification should be posted in various public places to make it known to all the possible legatees. Such notification would protect the rights of other legatees and lessen the number of derogations arising from the enumerated unlawful actsen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม42.63 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons