กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3691
ชื่อเรื่อง: ความไม่มีส่วนได้เสียและความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่ในการสอบสวนทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The principle of impartiality of the official in the disciplinary investigation of the government teacher and educational personnel
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทิวากร ดวงเกตุ, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ครู--วินัย
บุคลากรทางการศึกษา--วินัย
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี กฎหมาย ที่เกี่ยวกับหลักความไม่มีส่วนได้เสียและความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครอง การสอบสวนทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาความมีส่วนได้เสียและความไม่เป็นกลางในการสอบสวนทางวินัย เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการสอบสวนทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไปตามหลักความไม่มีส่วนได้เสียและความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารจากการศึกษาค้นคว้าตำรา บทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้มาจากงานวิจัย วิทยานิพนธ์ กฎหมาย ระเบียบ ตลอดจนคำวินิจฉัยที่เกี่ยวข้อง เช่น คำพิพากษาศาลปกครอง คำวินิจฉัยคณะกรรมการกฤษฎีกา และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าการสอบสวนทางวินัยเป็นขั้นตอนที่จัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันแก่ข้าราชการให้เกิดความมันใจว่าจะได้รับความคุ้มครองและเป็นธรรมดังนั้นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสอบสวนทางวินัยจะต้องมีความเป็นกลาง ไม่มีส่วนได้เสียไม่ว่าทางใด เพื่อให้การสอบสวนทางวินัยเป็นไปด้วยความเป็นธรรม แต่ปัญหาที่พบในการสอบสวนทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาคือปัญหาการแต่งตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยที่มีการแต่งตั้งบุคคลที่เคยเป็นกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นมาก่อนมาเป็นกรรมการสอบสวนทาง วินัยเนื่องจากเป็นพฤติการณ์ที่ชวนให้เกิดความสงสัยได้ว่าบุคคลนั้นอาจมีสภาพของความไม่เป็นกลางในการสอบสวนทางวินัย และปัญหากระบวนการกลันกรองบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวนทางวินัย ที่กำหนดให้เป็นเพียงสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาที่จะต้องใช้สิทธิในการโต้แย้งกรรมการสอบสวนทางวินัยเอง แต่ไม่กำหนดให้ผู้สั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยจะต้องตรวจสอบถึงความเป็นกลางและความไม่มีส่วนได้เสียของบุคคลก่อนที่จะแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวนทางวินัย ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะว่าไม่ควรแต่งตั้งบุคคลที่เคยเป็นกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงมาก่อนเป็นกรรมการสอบสวนทางวินัย และผู้มีอำนาจในการแต่งตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยต้องตรวจสอบความเป็นกลางและความไม่มีส่วนได้เสียของบุคคลก่อนที่จะแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวนทางวินัยเนื่องจากอาจมีสภาพอยางร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง ทั้งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความตระหนักและการให้ความสำคัญต่อหลักความไม่มีส่วนได้เสียและความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3691
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons