Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3700
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มาลี สุรเชษฐ | th_TH |
dc.contributor.author | ธนากร ศรีวนค้ำ, 2524- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-03-05T02:36:24Z | - |
dc.date.available | 2023-03-05T02:36:24Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3700 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการพิจารณาคดี หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการพิจารณาคําขอให้ศาลปกครองมีคําสั่งทุเลาการบังคับตามกฎหรือคําสั่งทางปกครองในคดีปกครองเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามหลักกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองของไทยและต่างประเทศ ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของศาลปกครองในการพิจารณามีคําสั่งทุเลาการบังคับตามกฎหรือคําสั่งทางปกครองในคดีปกครองเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล และเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายของศาลปกครองที่เกี่ยวข้องกบการมีคําสั่งทุเลาการบังคับตามกฎหรือคําสั่งทางปกครองในคดีปกครองเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลให้มีความรวดเร็วและเป็นธรรมมากยิงขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ซึ่งได้ศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมจากบทบัญญัติของกฎหมาย เอกสารวิชาการ บทความทางวิชาการ ตําราวิชาการ วิทยานิพนธ์ คําสั่ง คําพิพากษาของศาลปกครอง รวมทั้งเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ในการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล นอกจากผู้ฟ้องคดีจะฟ้อง ขอให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งเพื่อเป็นการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีแล้ว ผู้ฟ้องคดียังมีสิทธิที่จะขอให้ศาลมีคําสั่งทุเลาการบังคับตามกฎหรือคําสั่งทางปกครองที่พิพาทไว้เป็นการชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ซึ่งในบางครั้งกว่าที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคําสั่งออกมาอาจไม่ทันต่อการเยียวยาความเสียหายและความเดือดร้อนของผู้ฟ้องคดี เช่น ในระหว่างการพิจารณาของศาลผู้ฟ้องคดีได้เกษียณอายุราชการไปแล้ว ด้วยเหตุนี้การพิจารณาเพื่อมีคําสั่งทุเลาการบังคับตามกฎหรือคําสั่งทางปกครองในคดีปกครองเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลจึงต้องกระทําด้วยความรวดเร็วแต่ขั้นตอนการพิจารณาของศาลปกครองเพื่อมีคําสังดังกล่าวในปัจจุบันยังมีความล่าช้า เนื่องจากมีการพิจารณาหลายขั้นตอนและไม่มีการกำหนดกรอบระยะเวลาในการพิจารณาที่ชัดเจน โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทุเลาการบังคับตามกฎหรือคําสั่งทางปกครอง ซึ่งเดิมการพิจารณาเพื่อมีคําสั่งทุเลาการบังคับตามกฎหรือคําสั่งทางปกครองนั้น กฎหมายกำหนดให้ต้องกระทําเป็นองค์คณะและต้อง ส่งให้ตุลาการผู้แถลงคดีทําคําแถลงการณ์ก่อนมีคําสั่ง และกฎหมายยังไม่ได้กำหนดว่าต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณาเท่าใด จึงควรมีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 โดยกำหนดให้การพิจารณาเพื่อมีคําสั่งทุเลาการบังคับตามกฎหรือคําสั่งทางปกครองในคดีปกครองเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลให้กระทําโดยตุลาการนายเดียวโดยไม่ต้องรับฟังคําแถลงการณ์ของตุลาการผู้แถลงคดีและจะต้องพิจารณาดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอ ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดขั้นตอนและทําให้มีกรอบระยะเวลาการดําเนินการในแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจน และเพื่อให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความรวดเร็วทันต่อการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | วิธีพิจารณาคดีปกครอง | th_TH |
dc.subject | การบริหารงานบุคคล | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน | th_TH |
dc.title | การทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองในคดีปกครองเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล | th_TH |
dc.title.alternative | Suspension of execution of by-laws or administrative orders in administrative cases related to personnel administration | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this independent study were to study and analyze court proceedings, rules and conditions in requesting the court to suspend the execution of by-laws or administrative orders in administrative cases related to personnel administration in accordance with the law on administrative procedure of Thai and foreign court, to explore problems and obstaclesof the administrative courtin suspension thereof, and to propose suggestions to improve the law of the administrative court related to the cases in order to be faster and fairer. This independent study was qualitative research using documentary research method, which studied, researched and gathered the provisions of the law, academic papers, academic articles, academic texts, theses, orders and judgments of the administrative court and associated documents. The results showed that in the administrative lawsuit related to personnel administration, the plaintiff could request the court to judge or issue grievance or damage remedies to them. They also had rights to ask the court to order the suspension of execution of by-laws or administrative orders temporarily during the court proceedings. At some point, the judgment or order issued by the court could not timely remedy the grievance and damage of the plaintiff, for example, the plaintiff retired during court proceedings. For this reason, the consideration for the order to suspend the execution thereof must be done speedily. Currently, the proceedings of the administrative court for such order was still belated. Since, especially in this suspension order, there were many steps in the consideration process and a precise timeframe for consideration was not defined. Originally, the laws required that the consideration for the suspension order must be proceeded by a panel, and send to the judge who made the statement before issue. Moreover, the laws did not determine how long the consideration would take. Therefore, the Act on Establishment of the Administrative Court and Administrative Court Procedure, B.E. 2542 and Rule of the General Assembly of Judges of the Supreme Administrative Court on Administrative Procedure, B.E. 2543 should be amended by assigning only one judge to consider the suspension order without taking statements of other judges who made the statement into account. The consideration had to be done within ten days from the date of receipt the request to reduce the process, to clarify timeframe of each process and to make the judgment on the remedy of grievance and damage of the plaintiff in time. | en_US |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License