Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3700
Title: การทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองในคดีปกครองเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
Other Titles: Suspension of execution of by-laws or administrative orders in administrative cases related to personnel administration
Authors: มาลี สุรเชษฐ
ธนากร ศรีวนค้ำ, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
วิธีพิจารณาคดีปกครอง
การบริหารงานบุคคล
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการพิจารณาคดี หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการพิจารณาคําขอให้ศาลปกครองมีคําสั่งทุเลาการบังคับตามกฎหรือคําสั่งทางปกครองในคดีปกครองเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามหลักกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองของไทยและต่างประเทศ ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของศาลปกครองในการพิจารณามีคําสั่งทุเลาการบังคับตามกฎหรือคําสั่งทางปกครองในคดีปกครองเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล และเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายของศาลปกครองที่เกี่ยวข้องกบการมีคําสั่งทุเลาการบังคับตามกฎหรือคําสั่งทางปกครองในคดีปกครองเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลให้มีความรวดเร็วและเป็นธรรมมากยิงขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ซึ่งได้ศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมจากบทบัญญัติของกฎหมาย เอกสารวิชาการ บทความทางวิชาการ ตําราวิชาการ วิทยานิพนธ์ คําสั่ง คําพิพากษาของศาลปกครอง รวมทั้งเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ในการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล นอกจากผู้ฟ้องคดีจะฟ้อง ขอให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งเพื่อเป็นการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีแล้ว ผู้ฟ้องคดียังมีสิทธิที่จะขอให้ศาลมีคําสั่งทุเลาการบังคับตามกฎหรือคําสั่งทางปกครองที่พิพาทไว้เป็นการชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ซึ่งในบางครั้งกว่าที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคําสั่งออกมาอาจไม่ทันต่อการเยียวยาความเสียหายและความเดือดร้อนของผู้ฟ้องคดี เช่น ในระหว่างการพิจารณาของศาลผู้ฟ้องคดีได้เกษียณอายุราชการไปแล้ว ด้วยเหตุนี้การพิจารณาเพื่อมีคําสั่งทุเลาการบังคับตามกฎหรือคําสั่งทางปกครองในคดีปกครองเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลจึงต้องกระทําด้วยความรวดเร็วแต่ขั้นตอนการพิจารณาของศาลปกครองเพื่อมีคําสังดังกล่าวในปัจจุบันยังมีความล่าช้า เนื่องจากมีการพิจารณาหลายขั้นตอนและไม่มีการกำหนดกรอบระยะเวลาในการพิจารณาที่ชัดเจน โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทุเลาการบังคับตามกฎหรือคําสั่งทางปกครอง ซึ่งเดิมการพิจารณาเพื่อมีคําสั่งทุเลาการบังคับตามกฎหรือคําสั่งทางปกครองนั้น กฎหมายกำหนดให้ต้องกระทําเป็นองค์คณะและต้อง ส่งให้ตุลาการผู้แถลงคดีทําคําแถลงการณ์ก่อนมีคําสั่ง และกฎหมายยังไม่ได้กำหนดว่าต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณาเท่าใด จึงควรมีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 โดยกำหนดให้การพิจารณาเพื่อมีคําสั่งทุเลาการบังคับตามกฎหรือคําสั่งทางปกครองในคดีปกครองเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลให้กระทําโดยตุลาการนายเดียวโดยไม่ต้องรับฟังคําแถลงการณ์ของตุลาการผู้แถลงคดีและจะต้องพิจารณาดําเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับคําขอ ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดขั้นตอนและทําให้มีกรอบระยะเวลาการดําเนินการในแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจน และเพื่อให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความรวดเร็วทันต่อการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3700
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.53 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons