Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3703
Title: การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด
Other Titles: An extension of the period of time for filing an appeal to the supreme administrative court of Thailand
Authors: สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธรรมนิตย์ คงทน, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
วิธีพิจารณาคดีปกครอง
อุทธรณ์
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ที่สำคัญในการพิจารณาขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองของไทยและของต่างประเทศรวมถึงศาลระบบอื่นในประเทศไทย เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบหลักกฎหมายและแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองไทยกับศาลในระบบอื่นของไทยและศาลต่างประเทศและเพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในศาลปกครองไทย ตามแนวทางที่เหมาะสมต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารจากเอกสาร บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ ข้อมูลที่เผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แนวคำวินิจฉัยของศาลไทยและหลักกฎหมายของศาลต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในศาลปกครองสูงสุด ผลการศึกษาพบว่าศาลปกครองไทยมีหลักในการพิจารณาขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษาในศาลปกครองสูงสุดที่เคร่งครัด ในขณะที่การกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งในศาลปกครองกลับมีความยืดหยุ่น หรือผ่อนคลายมากกว่าในลักษณะที่ให้อำนาจศาลที่จะย่นหรือขยายระยะเวลาได้ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ซึ่งสอดคล้องกับหลักกฎหมายในศาลปกครองของฝรั่งเศสและศาลปกครองเยอรมัน ตลอดจนศาลยุติธรรมของไทย ที่ศาลมีอำนาจขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งได้ โดยที่ศาลปกครองไทยให้เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นว่าเนื่องจากระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งมิได้ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาได้ ทั้งไม่อำนาจเอาหลักการขยายระยะเวลาที่กำหนดไว้ในระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 มาใช้ได้เนื่องจากเป็นการขัดแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ศาลปกครองจึงไม่อาจขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาได้การที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มิได้มีการบัญญัติให้อำนาจศาลในการย่นหรือขยายระยะเวลาไว้ อย่างชัดแจ้งเช่นในศาลปกครองต่างประเทศ หรือในศาลยุติธรรมไทย มีผลทำให้ระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษาของศาล ปกครองไทยมีระยะเวลาที่จจำกัดและไม่อาจผ่อนคลายได้ โดยไม่คำนึงว่าเหตุที่ทำให้คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียไม่อาจยื่น อุทธรณ์คำพิพากษาได้นั้นเนื่องมาจากสาเหตุใด ทั้งที่ระยะเวลาดังกล่าวเป็นเพียงระยะเวลาตามกฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวคือเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหวางศาลกับคู่กรณีในคดีในกระบวนวิธีพิจารณา มิใช่อายุความให้ใช้สิทธิเรียกร้องซึ่ง เป็นความสัมพันธ์ระหวางคู่กรณีด้วยกนเอง เป็นการจำกัดสิทธิในการที่จะให้ศาลปกครองสูงสุดได้มีโอกาสตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น ส่งผลทำให้ไม่สามารถอำนวยความยุติธรรมทางปกครอง ได้อย่างแท้จริงผู้ศึกษาเห็นว่า การแก้ไขหลักเกณฑ์ดังกล่าวควรที่จะแก้ไขบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาล ปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ในส่วนที่เกี่ยวกับการให้อำนาจศาลในการพิจารณาขยายระยะเวลา อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองไทยเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากลและเพื่อเปิดโอกาสให้คู่กรณีได้มีโอกาสต่อสู้คดี ได้อยางเต็มภาคภูมิอันเป็นการอำนวยความยุติธรรมในทางปกครองอีกทางหนึ่ง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3703
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.81 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons