Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3707
Title: ผลกระทบทางกฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองของไทย
Other Titles: The legal effect regarding to the dissolution of polition parties in Thailand
Authors: มาลี สุรเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธวัช บัวพิทักษ์, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การยุบพรรคการเมือง--ไทย
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องผลกระทบทางกฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองของไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับพรรคการเมือง และการยุบพรรคการเมือง (2) ศึกษาบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวการยุบพรรคการเมืองในระบบกฎหมายไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบของรัฐธรรมนูญและกฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองและ (4) เสนอแนะแนวทางการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองของไทยให้เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยการศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับพรรคการเมืองและการยุบพรรคการเมือง เจตนารมณ์ของกฎหมายยุบพรรคการเมืองของไทยและของประเทศเยอรมันและฝรั่งเศส แล้วนํามาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ผลการศึกษาพบว่า เหตุแห่งการยุบพรรคการเมืองของไทยบางเหตุเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญนัก แตกต่างจากเหตุแห่งการยุบพรรคการเมืองของประเทศเยอรมันและฝรั่งเศสทีต้องเป็นเรื่องร้ายแรงถึงขนาดเป็นการกระทําการเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยหรือความมั่นคงของรัฐ นอกจากนี้กฎหมายยุบพรรคการเมืองไทยยังบัญญัติให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคและห้ามเป็นกรรมการบริหารพรรคหรือจัดตั้งพรรคขึ้นใหม่เป็นเวลาห้าปีอีกด้วย ด้วยเหตุนี้พรรคการเมืองไทยจึงถูกยุบได้ง่ายและส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพมากกว่าในประเทศเยอรมันหรือฝรั่งเศส จึงควรแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองของไทยให้เหมาะสม สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย ดังนี้ (1) ยกเลิกบทบัญญัติที่ให้ยุบพรรคการเมืองเพราะเหตุไม่รายงานการดำเนินกิจการพรรคการเมืองหรือไม่รายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุน (2) ยกเลิกบทบัญญัติให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคและห้ามเป็นกรรมการบริหารพรรคหรือตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ (3) บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลพรรคการเมืองเท่านั้นที่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคการเมือง (4) บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญรับฟังข้อเท็จจริงในคดีเกี่ยวกับการทำผิดกฎหมายอันนำไปสู่ การยุบพรรคเสียใหม่โดยไม่ผูกพันกับคำวินิจฉัยของ กกต. ศาลฎีกา หรือองค์กรอื่น (5) ให้มีการเผยแพร่ผลการประเมินของสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติให้ประชาชนทราบว่ากรรมการบริหารพรรคการเมืองใดไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม แต่ไม่ควรมีมาตรการลงโทษใด ๆ เช่น การถอดถอน การตัดสิทธิ์ทางการเมือง หรือการยุบพรรคการเมือง เนื่องจากเหตุดังกล่าว
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3707
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.28 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons