กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/370
ชื่อเรื่อง: ความขัดแย้งทางการเมืองในองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Political conflicts in Tambol Administrative Organizations in Khok Pho District, Pattani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรวลัณูช์ โรจนพล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยุทธพร สิสรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
มูฮำมัดรอปี หม้อแหล่, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --วิทยานิพนธ์
องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโคกโพธิ์
ความขัดแย้งทางการเมือง
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การทำวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1 ) สาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองใน องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโคกโพธิ จังหวัดปัตตานี (2) ผลกระทบของความขัดแย้งทางการเมืองใน องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโคกโพธิ จังหวัดปัตตานี (3) แนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัคแย้งทาง การเมืองในองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโคกโพธิ จังหวัดปัตตานี ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุความขัดแย้งทางการเมืองในองค์การบริหารส่วนตำบลเกิดจากสาเหตุ ดังนี้ ประการแรกเกิดจากข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ยังไม่มีความชัดเจนเปิดช่องว่างให้นักการเมืองและข้าราชการใช้เป็นช่องทางในการแสวงหาผลประโยชน์ประการที่สองเกิดจากแนวคิดการกระจายอำนาจส่งผลให้เกิดการแช่งขันที่รุนแรงมีโครงสรัางการบริหารงานระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติไม่ชัดเจน ประการที่สามเกิดจากลักษณะเฉพาะบุคคล เนื่องจากการมีเป้าหมาย บทบาท หน้าที่ ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ การรับรุ้และความรู้สึกทางการเมืองที่แตกต่างกัน ประการที่สี่เกิดจากการใช้อำนาจทางการเมืองส่งผลให้เกิดการเกื้อหนุนระหว่างกสุ่มอำนาจการเมืองระดับเจัาหน้าที่ของรัฐ และกลุ่มอิทธิพล ส่วนผลกระทบของความขัดแย้งทาง การเมืองในองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น มีสามประเด็นคือ ประเด็นแรกเกิดผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตย และการเมืองการปกครองห้องถิ่นทำให้เกิดการชื้อสิทธิขายเสียง เกิดระบบอุปถัมภ์ มีการทุจริตการเสือกตั้ง และ ขาดความโปร่งใสในการทำงาน ประเด็นที่สอง เกิดผลกระทบต่อการดำเนินงาน ประชาชนขาดการมีส่วนร่วมไม่ สามารถสนองความต้องการของประชาชน ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลและล้าช้า ประเด็นที่สามเกิด ผลกระทบต่อชุมชน เกิดการแตกแยกความสามัคคี รู้สึกเบื่อหน่ายต่อการเมืองห้องถิ่นไม่สามารถที่จะพัฒนา ระบอบประชาธิปไตย ส่วนแนวทางแก้ไขป็ญหาความขัดแย้งทางการเมืองได้มีการนำเสนอแนวทางดังนี้ ด้าน ข้อกำหนดหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและบทบาท อำนาจ หน้าที่ ให้มีความรัดกุมชัดเจน ด้านการบริหาร ขัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับภารกิจที่ถ่ายโอน ยึดหลักการบริหาร จัดการที่ดี ใช้หลักการประนีประนอม มีการฝึกอบรมผู้บริหารและสมาชิก อบต. ด้านชุมชนห้องถิ่นมีการส่งเสริม และสนับสนุนให้ประชานมีส่วนร่วมทางการเมืองให้มีความรู้การเมืองท้องถิ่นตามวิถีทางประชาธิปไตย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/370
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
142740.pdfเอกสารฉบับเต็ม104.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons