Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3714
Title: มาตรการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินในอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
Other Titles: Measures to verify the assets and liabilities under jurisdiction of the National Counter Corruption the commission
Authors: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีรพงศ์ ยอดกุล, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ--ไทย--การป้องกัน
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกรไทยกำหนดให้ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองและเจาหน้าที่ของรัฐยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ถือเป็นมาตรการพิเศษในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยมีการตรวจสอบ และมีบทกำหนดโทษด้วยกระบวนการตรวจสอบมุ่งประสงคไปยังทรัพย์สินของผู้กระทำผิดที่มีมูลเหตุมาจากการทุจริต อันเป็นการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยทางกฎหมาย ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสารกระบวนการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังมีปัญหาและอุปสรรคเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกรไทยบัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอํานาจหน้าที่ภารกิจหลายด้านจํานวนบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินมีเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของคู่สมรสนั้นจะต้องเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายการตรวจสอบมีขั้นตอนซึ่งต้องใช ้ เวลาพอสมควร และไม่ได้ตรวจสอบในทางลับว่าทรัพย์สินและหนี้สินที่แสดงไว้นั้นมีอยู่จริงหรือไม่และเจ้าหน้าที่ของสํานกงาน ป.ป.ช. ในด้านตรวจตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินมีน้อย นอกจากนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินไม่ครอบคลุมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐบางตําแหน่งที่มีโอกาสในการใช้อํานาจหนาที่ในตําแหน่งในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบได ้ดังนั้น เพื่อให้กระบวนการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพบรรลุตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชการอาณาจกรไทย ในการให้อํานาจคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ ซึ่งหากมีการถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ภารกิจงานบางอย่างของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปให้หน่วยงานอื่น การกำหนดให้คู่สมรสของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชี แม้จะไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ต้องแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพิ่มอัตรากำลังเจ้าหนาที่ในด้านการตรวจสอบทรัพย์สินให้เพียงพอ และเพิ่มมาตรการในการตรวจสอบในทางลับก็จะทําให้การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถที่จะป้องกันการทุจริต ป้องกันมิให้ผู้ดํารงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐแสวงหาผลประโยชน์ที่มิชอบได้เป็นอย่างดีอันจะเป็นผลให้การทุจริต ลดน้อยลงผลประโยชน์ก็จะตกอยู่แก่ประชาชนและประเทศชาติอย่างแท้จริง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3714
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons