กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/375
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเครื่องปรับปรุงความละเอียดของเส้นใยดาหลาส่วนลำต้น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of machine of improving fineness of Dala fiber from stalk
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: แววบุญ แย้มแสงสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กัลทิมา เชาว์ชาญชัยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุธา ลอยเดือนฉาย, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม--วิทยานิพนธ์
เส้นใย--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบเครื่องปรับปรุงเส้นใยดาหลาส่วนลำต้น ทำการเปรียบเทียบสมบัติเส้นใยดาหลาที่ได้จากเครื่องจักรต้นแบบและเส้นใยดาหลาที่ได้จากวิธีเคมีแบบดั้งเดิม และศึกษาระยะเวลา ต้นทุนการผลิต แรงงานในการผลิต รวมถึงประเมินความพึงพอใจในการใช้เครื่องจักรวิธีดำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอน คือ (1) ออกแบบและพัฒนาเครื่องปรับปรุงเส้นใย (2) ทดสอบสมบัติของเส้นใย ด้วยเครื่องทดสอบแรงดึง เครื่องวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี กล้องจุลทรรศน์ และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดด้วยเทคนิคการกระจายพลังงานรังสีเอ็กซ์ เครื่องทดสอบแรงดึง และวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของเส้นใย (3) ประเมินประสิทธิภาพของเครื่องจักรและความพึงพอใจในการใช้เครื่องจักร ผลการวิจัยพบว่า (1) เครื่องปรับปรุงเส้นใย ประกอบด้วยชุดปรับสภาพเส้นใยและชุดส่งกำลังขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 745 วัตต์ (2) การใช้เครื่องปรับปรุงเส้นใย ที่ขนาดแรงกด 4 บาร์ เวลา 10 นาที มีค่าการรับแรงดึงสูงกว่าวิธีเคมี โดยเส้นใยที่ได้จากเครื่องจักรต้นแบบและเส้นใยที่ได้จากวิธีเคมีมีค่าการรับแรงดึงเท่ากับ 147 และ 109 เซ็นตินิวตัน ตามลำดับ ที่สภาวะเดียวกันเส้นได้จากเครื่องจักรต้นแบบมีขนาดเล็กกว่าที่ได้จากวิธีเคมี โดยเส้นใยที่ได้จากเครื่องจักรต้นแบบและเส้นใยที่ได้จากวิธีเคมีมีขนาดเท่ากับ 0.006 และ 0.008 มิลลิเมตร ตามลำดับ เส้นใยดาหลาที่ได้จากเครื่องจักรต้นแบบและวิธีเคมี มีลักษณะการกระจายตัวของเส้นใยในรูปแบบเดียวกัน (3) เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตเส้นใยด้วยเครื่องจักรต้นแบบกับวิธีเคมี ต่อการผลิตเส้นใย 1 ยูนิต พบว่าการผลิตด้วยเครื่องจักร ใช้เวลา แรงงานและต้นทุนน้อยกว่าการผลิตด้วยวิธีเคมี โดยมีจุดคุ้มทุนที่ 210.5 กิโลกรัมเส้นใย และความพึงพอใจในการใช้เครื่องจักรอยู่ในระดับมากที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(เทคโนโลยีอุตสาหกรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/375
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Science Tech - Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_162213.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons