กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/377
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแผ่นพื้นคอนกรีตทางเท้าผสมเส้นใยผักตบชวา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of pavement slabs with the mixture of water hyacinth fiber
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญชัย วลีธรชีพสวัสดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วันชัย ยอดสุดใจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อดุลย์ วงศ์สุจริต, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม--วิทยานิพนธ์
แผ่นพื้นคอนกรีต
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผ่นพื้นคอนกรีตโดยนำเอาเส้นใยผักตบชวามาเป็นวัสดุทดแทนทรายและหินโดยทำการศึกษาสมบัติการดูดซึมน้ำกำลังต้านทานแรงดัด และสมบัติการสะสมความร้อน เพื่อหาสูตรผสมที่ให้ผลการทดสอบดีและสามารถนำไปใช้งานได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยผลิตแผ่นพื้นคอนกรีตทางเท้าขนาด 40x40x4 เซนติเมตร ที่มีเส้นใยผักตบชวาทดแทนทรายและหินในอัตราส่วนต่างๆ ซึ่งพบวาแผ่นพื้นคอนกรีตทางเท้าที่สามารถขึ้นรูปและนำมาทดสอบมี 6 สูตร ได้แก่ สูตรทดแทนทรายร้อยละ 2.5 (PF2.5C), 5 (PF5C) และ 7.5 (PF7.5C) และสูตรทดแทนหินร้อยละ 2.5 (PFC2.5) นำไปทดสอบค่าร้อยละการดูดซึมน้ำ ค่ากำลังต้านทานแรงดัด และสมบัติการสะสมความร้อน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการทดสอบพบว่าค่าความต้านทานแรงดัดตามขวางเฉลี่ยของแผนพื้นคอนกรีตที่ผสมเส้นใยผักตบชวาทุกสูตรประมาณ 0.32 Mpa ซึ่งต่ำกว่าค่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน มอก. 378 - 2531 การทดสอบค่าการดูดซึมน้ำ มีสูตรที่ผ่านมาตรฐาน 3 สูตร ได้แก่ PF2.5C, PF5C และ PFC2.5 มีค่าการดูดซึมน้ำ 3.67, 9.81 และ 9.02 ตามลำดับ ส่วนการทดสอบค่าการสะสมความร้อนพบว่าในช่วงเวลาที่อุณหภูมิอากาศร้อนที่สุดของวันคือช่วงเวลา 12.00-14.00 น. แผนพื้นทางเท้าสูตรทดแทนทรายร้อยละ 2.5 (PFC2.5) และสูตรทดแทนหินร้อยละ 2.5 (PFC2.5) มีสมบัติการสะสมความร้อนต่ำ สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดีทำให้ลดอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมได้ เมื่อศึกษาต้นทุนวัสดุมวลรวมของแผ่นพื้นคอนกรีตทางเท้าผสมเส้นใยผักตบชวา พบว่าไม่มีส่วนในการลดต้นทุนการผลิตแผ่นคอนกรีตทางเท้า
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีอุตสาหกรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/377
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Science Tech - Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_155177.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons