กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3816
ชื่อเรื่อง: | การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องขมิ้นชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2 จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Construction of a supplementary reading entitled turmeric (Curcuma Longa L.) for Mathayom Suksa V students at Surat Thani 2 School in Surat Thani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จุฬารัตน์ ธรรมประทีป วิลาวัลย์ โชคชูลี, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี หนังสืออ่านประกอบ--การประเมิน ชีววิทยา--หนังสืออ่านประกอบ นักเรียนมัธยมศึกษา--หนังสืออ่านประกอบ การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง “ขมิ้นชัน” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2 จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ (2) ประเมินความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง “ขมิ้นชัน” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จำนวน 10 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2 จำนวน 48 คนที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง “ขมิ้นชัน” แบบประเมินความคิดเห็นของครูที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม และแบบประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ขมิ้นชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย 4 บท ได้แก่ บทที่ 1 ลักษณะพื้นฐานของขมิ้นชัน บทที่ 2 สภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการเจริญเติบโต บทที่ 3 การจัดการการผลิต และบทที่ 4 การใช้ประโยชน์จากขมิ้นชัน และ (2) ผลการประเมินความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง ขมิ้นชัน พบว่า ลักษณะการจัดรูปเล่ม ลักษณะของเนื้อหา ลักษณะการจัดภาพ และการใช้ภาษา มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านคุณค่าและประโยชน์ ครูและนักเรียนคิดว่าหนังสือมีคุณค่าและมีประโยชน์ในการนำไปใช้จริงอยู่ในระดับมากที่สุด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3816 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_137437.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.19 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License