กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3839
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำยากในบทเรียนโดยใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of difficult words for reading and writing skills with the use of the electronic story books for Prathomsuksa III students of Anuban Ubon Ratchatani School in Ubon Ratchatani province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จันตรี คุปตะวาทิน
ศศิธร สุภศร, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การเขียน--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--อุบลราชธานี
การอ่าน--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--อุบลราชธานี
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการอ่านและการเขียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ 2) ศึกษาอัตราพัฒนาการด้านทักษะการอ่านและการเขียนคํายากระหว่างเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี จํานวน 43 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ 2) แผนการเรียนรู้พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคํายากในบทเรียน 3) แบบทดสอบทักษะการอ่านและการเขียนคํายากในบทเรียนก่อนและหลังเรียน จํานวน 30 ข้อ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียน โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน อัตราการพัฒนา และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการอ่านและการเขียนคํายากในบทเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ หลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) อัตราการพัฒนาทักษะด้านการอ่านและการเขียนคํายากในบทเรียนระหว่างเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.70 และ 0.63 คะแนนต่อครั้ง จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน 3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3839
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_124245.pdfเอกสารฉบับเต็ม5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons