Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3843
Title: ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมเรขาคณิตพลวัตเรื่อง ความน่าจะเป็นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเสนา "เสนาประสิทธิ์" จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: The effects of learning activities with the use of the geometer's Sketchpad Program in the topic of probability on learning achievement of Mathayom Suksa III Students at Sena "Senaprasit" school in Phra Nakorn Si Ayutthaya Province
Authors: ปรีชา เนาว์เย็นผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุภพร ตรีไพชยนต์ศักดิ์, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา
คณิตศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน
ความน่าจะเป็น -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การศึกษาอิสระ -- หลักสูตรและการสอน
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์”จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมเรขาคณิตพลวัต เรื่องความน่าจะเป็น และ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนดังกล่าว กับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมเรขาคณิตพลวัต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จานวน 33 คน ใน 1 ห้องเรียนของโรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้โปรแกรมเรขาคณิตพลวัต และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมเรขาคณิตพลวัตหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมเรขาคณิตพลวัต สูงกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3843
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_143442.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.91 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons