Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/384
Title: | การใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเขตภาคเหนือตอนล่าง |
Other Titles: | Information use for study in higher education by Matayom 6 students in the Lower Northern Region Schools |
Authors: | น้ำทิพย์ วิภาวิน นารถนรี พอใจ, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์ นิรนาท แสนสา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ สารสนเทศ--การศึกษาการใช้ พฤติกรรมข่าวสาร--ไทย (ภาคเหนือ) |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเขตภาคเหนือตอนล่าง 2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเขตภาคเหนือตอนล่าง และ 3) ศึกษาปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเขตภาคเหนือตอนล่าง วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในรงเรียนเขตภาคเหนือตอนล่าง จํานวน 11,974 คน ได้กลุ่มตัวอยางจํานวน 636 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการเปรียบเทียบรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเขตภาคเหนือตอนล่างที่ใช้มากที่สุดคือ การปรึกษาครูแนะแนว รองลงมาคือ เอกสารแนะแนวการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา และเว็บไซต์แนะแนวการศึกษาต่อมหาวิทยาลัย 2) ผลการเปรียบเทียบการใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเขตภาคเหนือตอนล่างจําแนกตามเพศ และขนาดของโรงเรียนพบว่า นักเรียนที่มีเพศต่างกันมีการใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อไม่แตกต่างกัน จําแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่าโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีการใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ .05 คือ โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีการใช้สารสนเทศมากกวาโรงเรียนขนาดใหญ่ และโรงเรียนขนาดกลาง 3) ปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 คือ การเข้าถึงสารสนเทศผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียนมีความล่าช้า รองลงมาคือทรัพยากรสารสนเทศในโรงเรียนมีจํานวนน้อย |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/384 |
Appears in Collections: | Arts-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
159709.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License