Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/386
Title: การพัฒนารูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Other Titles: Developing a learning environment model for Rajabhat University Libraries to develop digital literacy skills of undergraduate students
Authors: น้ำทิพย์ วิภาวิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุทธินันท์ ชื่นชม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทัดทอง พราหมณี, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิสุทธิ์ ศรีจันทร์, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
การรู้สารสนเทศ
สภาพแวดล้อมห้องเรียน
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1 ) ศึกษาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (2) ศึกษาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของ นักศึกษาระดับปริญญาตรี (3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีและ (4) พัฒนารูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏทัวประเทศ จำนวน 780 คน ผู้บริหารและอาจารย์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 80 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง อย่างง่าย และ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้างและ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย วิพากย์และยืนยันรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 14 คน และทดลองรูปแบบกับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ 2 แห่ง จำนวน 60 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏมีทักษะการรู้ดิจิทัล โดยรวมอยู่ ในระดับต ( X = 2.39) โดยทักษะการรู้ดิจิทัลที่อยู่ในระดับ 3 ด้านได้แก่ ด้านความสามารถในการประเมินสารสนเทศดิจิทัลด้านการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการจัดการสารสนเทศ และด้านการสื่อสารสารสนเทศ ส่วนทักษะการรู้ดิจิทัลที่อยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงสารสนเทศ ด้านการรวบรวมสารสนเทศ และด้านการสร้างสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ 2) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของห้องสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีห้องสมุดมีการจัดฝึ กอบรมโดยบูรณา การเนื้อหาการรู้ดิจิทัลในเนื้อหาของรายวิชาและหลักสูตร การจัดหาและบริการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลหลาย รูปแบบ และการจัดพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกัน 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของห้องสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีได้แก่ งบประมาณ ความร่วมมือ ระหว่างห้องสมุดกับคณะ และการฝึ กอบรมทักษะการรู้ดิจิทัล และ 4) รูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคือ รูปแบบ ซีทีเอสเอส ประกอบด้วย การพัฒนาเนื้อหาดิจิทัลการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดพื้นที่อัจฉริยะเพื่อการ เรียนรู้และการบริการสร้างสรรค์ที่เข้าถึงผู้ใช้ และสนับสนุนการพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักศึกษา การประเมินรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า มีความเหมาะสม และผลการทดลองใช้นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Description: ดุษฏีนิพนธ์ (ปร.ด. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/386
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
162519.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.74 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons