กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3881
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของสหกรณ์การเกษตรเมืองพัทลุง จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Financial performance analysis and financial status of Mueang Pattalung Agricultural Cooperative, Limited |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์ สุรัสวดี สุวรรณรัตน์, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์การเกษตรเมืองพัทลุง--การประเมิน สหกรณ์การเกษตรเมืองพัทลุง--งบประมาณ |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเภทและปริมาณธุรกิจของสหกรณ์การเกษตรเมืองพัทลุง จำกัดและ 2) วิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของสหกรณการเกษตรเมืองพัทลุง จำกัด วิธีการศึกษา ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากงบดุล งบกำไรขาดทุน หมายเหตุประกอบงบการเงิน และเอกสารทางการเงินอื่นๆ ของสหกรณ์ในช่วงปีบัญชี 30 มิถุนายน 2552 - 2556 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีย่อส่วนตามแนวดิ่ง การวิเคราะห์แนวโน้ม และการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน แบบ CAMELS โดยเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) สหกรณ์การเกษตรเมืองพัทลุง จำกัด ดำเนินธุรกิจ 4 ด้าน สำหรับปีบัญชีสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2556 มีมูลค่าธุรกิจรวม 422.30 ล้านบาท โดยธุรกิจสินเชื่อมีมูลค่าสูงสุด 217.55 ล้านบา รองลงมาธุรกิจรับฝากเงิน 138.66 ล้านบาท และธุรกิจจัดหาสินค้า มาจำหน่ายมีมูลค่าน้อยที่สุด 66.09 ล้านบาท ส่วนธุรกิจรวบรวมผลิตผลประสบผลขาดทุนติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2552 - 2554 ที่ประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2554 จึงมีมติให้หยุดดำเนินธุรกิจชั่วคราวจนกว่า สหกรณ์จะสรรหาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจดังกล่าวได้เพื่อดำเนินธุรกิจต่อไป 2) สหกรณ์มีสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมากกว่าการลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน โดยส่วนใหญ่เป็นเงินให้กู้ยืมระยะยาว ส่วนโครงสร้างทางการเงิน สหกรณ์มีสัดส่วนการจัดหาเงินทุนจากหนี้สินมากกว่าทุน โดยเฉพาะหนี้สินหมุนเวียนได้แก่ เงินรับฝาก ผลการดำ เนินงานสหกรณ์มีสัดส่วนของต้นทุนขายต่ำสุดในปี 2553 และกลับสูงขึ้นเล็กน้อยในปี 2556 สหกรณ์มีแนวโน้มของลูกหนี้ระยะสั้น-สุทธิเพิ่ม ในอัตราที่สูงมาก หนี้สินและทุนของสหกรณ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะทุนเรือนหุ้น มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นมาก ด้านยอดขายมีแนวโน้ม ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2553 จนถึงปี 2556 การวิเคราะห์โดยใช้เทคนิค CAMELS Analysis พบว่า ความเข้มแข็ง และความเพียงพอของเงินทุนมีความเสี่ยงอยู่บ้าง เนื่องจากสหกรณ์มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน 1.76 เท่า ทุนสหกรณ์ไม่สามารถคุ้มครองหนี้สินได้ประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ของสหกรณ์เพื่อก่อให้เกิดรายได้ 0.23 รอบ อยู่ในเกณฑ์ไม่น่าพอใจ แต่การลงทุนในสินทรัพย์มีคุณภาพดีจึงส่งผลให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ขีดความสามารถในการบริหารอยู่ในเกณฑ์ไม่น่าพอใจ การทำกำไรต่อสมาชิกอยู่ในเกณฑ์ดี แต่อัตราหนี้สินต่อสมาชิกโดยเฉลี่ยสูงกว่าอัตราการออมต่อสมาชิกอย่างมาก อัตรากำไรสุทธิเฉลี่ย 5 ปี สูงกว่า ค่ามาตรฐาน สหกรณ์มีสภาพคล่องในการชำระหนี้สินหมุนเวียนต่ำกว่า ค่ามาตรฐานเล็กน้อย ส่วนอัตราหมุนของสินค้าคงเหลือและลูกหนี้ระยะสั้น อยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ สหกรณ์ได้รัผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยและคู่แข่งขัน ทางการค้า |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3881 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_142624.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.37 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License