Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3883
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัจฉรา โพธิ์ดี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorทวีศักดิ์ สมุทรชีวะ, 2508--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-09T02:18:32Z-
dc.date.available2023-03-09T02:18:32Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3883-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานของครัวเรือนเกษตรกร 2) การจัดการการเงินของครัวเรือนเกษตรกร 3) การจัดการหนี้สินและปัญหาหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกร 4) แนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกรบ้านเนินยาง ตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมือง จังหวัด ตราด การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรในการวิจั ย คือ ครัวเรือนเกษตรกรบ้านเนินยาง ตำบลห้วยแร้ง อไเภอเมือง จังหวัด ตราด กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 ครัวเรือน จำแนกเป็นครัวเรือนที่มีหนี้สิน 20 ครัวเรือนและครัวเรือนที่ไม่มีหนี้สิน 20 ครัวเรือน โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการจัดสนทนากลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าสูงสุด และค่าต่ำ สุด ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) หัวหน้าครัวเรือนเกษตรกร เพศชายและหญิงมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่อายุ 40 - 50 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือน 2 - 4 คน มีที่ดินเฉลี่ย 19.17 ไร่/ครัวเรือน ส่วนใหญ่ปลูกยางพาราเป็นอาชีพหลัก มีรายได้และรายจ่ายเฉลี่ย 208,433 และ 201,566 บาท/ครัวเรือน/ปี ตามลำดับ 2) การจัดการการเงินของครัวเรือนเกษตรกร ส่วนใหญ่มอบหมายให้แม่บ้านเป็นผู้จัดการหลัก มีการวางแผนแบ่งสัดส่วนรายได้ วางแผนทางการเงินร่วมกันกับ สมาชิกในครัวเรือน มีการออมเงินในรูปแบบต่างๆ และเก็บออมเงินไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน การวางแผนการหารายได้ทำตามแผนได้บางส่วน จดบันทึกรายได้และรายจ่ายเป็บางครั้งที่มีรายได้และรายจ่ายเกิดขึ้น มีการเปรียบเทียบและปรับปรุงการใช้จ่ายทางการเงินให้เหมาะสมกับรายได้แ ละเพื่อการออมเงิน 3) การจัดการหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกรพบว่า ครัวเรือนเกษตรกรมีหนี้สินเฉลี่ย 223,600 บาท/ครัวเรือน ลัก ษณะหนี้สิน คือ หนี้สินผูกพันต่อเนื่องและหนี้สินเฉพาะปี ปัญหาหนี้สินของครัวเรือนเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ (1) ปัจจัยภายใน ซึ่งเกิดจากปัจจัย ส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการจัดการโดยปัจจัยส่วนบุคคลเกิดจากการขาดความขยันหมั่นเพียร ขาดเงินลงทุนทางการเกษตร มีความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต พื้นที่ทำการเกษตรมีน้อย และค่าใช้จ่ายในการศึกษาบุตร ส่วนปัจจัย ด้านการจัดการ เกิดจากการวางแผนจัดการการเงินยังไม่ดีพอ การวางแผนการประกอบอาชีพยังไม่ดีพอ (2) ปัจจัยภายนอกเกิดจากปัญหาภัย ธรรมชาติ ผลผลิตลดลง ราคาผลผลิตตกต่ำ 4) แนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินที่เกิดจากปัจจัยภายในด้านปัจจัย ส่วนบุคคล ได้แก่ การประกอบอาชีพเสริม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษาดูงานภายนอกชุมชน ลดการจัดงานหรืองานสังคม การหยุดเล่นการพนันทุกชนิด แนวทางแกไขปัญหาหนี้สินที่เกิดจากปัจจัยด้านการจัดการ ได้แก่ การลดรายจ่าย-เพิ่ม รายได้ การควบคุมการใช้จ่ายทางการเงิน และการรวมกลุ่มเกษตรกร ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินที่เกิดจากปัจจัย ภายนอก ได้แก่ การเพิ่มผลผลิตการแปรรูปผลผลิตให้ได้มาตรฐาน และให้ผู้นำหมู่บ้านช่วยเหลือกิจกรรมด้านต่างๆth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootherth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectเกษตรกร--การเงินth_TH
dc.titleการจัดการการเงินและหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกรบ้านเนินยาง ตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมือง จังหวัดตราดth_TH
dc.title.alternativeFinancial and debt management of farm households in Ban Noen Yang, Huai Raeng Sub-district, Mueang District, Trat Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) the demographic status of farm households in Ban Noen Yang, Huai Raeng Sub-district, Mueang District, Trat Province; 2) their financial management; 3) their debt management and debt problems; and 4) approaches to solving their debt problems. This was both a quantitative and qualitative research. The population were farm households in Ban Noen Yang, Huai Raeng Sub-district, Mueang District, Trat Province, out of which a sample of 40 farm households was chosen through purposive sampling, consisting of 20 households that were in debt and 20 households that were not in debt. Data were collected using a questionnaire and a focus group discussion with 12 people. Quantitative data were analyzed using frequency, mean, percentage, maximum and minimum value. Qualitative data were analyzed using content analysis. The results showed that 1) The proportion of male to female heads of household was approximately equal. Most were married and in the age range 40-50. Most had completed primary school education, had 2-4 household members and had 3.07 hectares (1 hectare = 6.25 rais) of agricultural land. The majority grew para rubber as their main occupation. Their mean annual household income was 208,433 baht and their mean annual household expenses were 201,566 baht. 2) In most households, the mother or wife was primarily in charge of financial management. They planned the allocation of expenditures and made financial plans together with other family members. They saved money in various ways and put aside savings for emergencies. They were partially successful in following their plans to gain income. They sometimes made records of some of their income and expenses. They compared and adjusted their expenditures to match income. 3) The farm households had mean debts of 223,600 baht, including both long- term and annual debts. The families’ debt problems arose from both internal and external factors. (1) The internal factors were the personal factors of lack of assiduousness, lack of capital to invest in farming, desire for modern conveniences and amenities, small farm size, and expenses for children’s education; and the management factors were inadequate financial planning and inadequate career planning. (2) The external factors consisted of natural disasters, decreases in agricultural yield, and low prices for agricultural products. 4) Approaches to solving the debt problems that arose from personal factors were to find sideline jobs for extra income, to learn more by attending study trips to other areas, to organize and attend fewer social functions, and to stop gambling in every form. Approaches to solving the debt problems that arose from management factors were to reduce expenses and increase income, to control expenditures, and to join in a farmer group for better bargaining power. Approaches to solving the debt problems that arose from external factors were to increase agricultural yield, to process the agricultural products up to accepted standards, and to have the village leaders assist in various activities.en_US
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_142630.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.31 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons