กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3883
ชื่อเรื่อง: | การจัดการการเงินและหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกรบ้านเนินยาง ตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมือง จังหวัดตราด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Financial and debt management of farm households in Ban Noen Yang, Huai Raeng Sub-district, Mueang District, Trat Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อัจฉรา โพธิ์ดี ทวีศักดิ์ สมุทรชีวะ, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--การศึกษาเฉพาะกรณี เกษตรกร--การเงิน |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานของครัวเรือนเกษตรกร 2) การจัดการการเงินของครัวเรือนเกษตรกร 3) การจัดการหนี้สินและปัญหาหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกร 4) แนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกรบ้านเนินยาง ตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมือง จังหวัด ตราด การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรในการวิจั ย คือ ครัวเรือนเกษตรกรบ้านเนินยาง ตำบลห้วยแร้ง อไเภอเมือง จังหวัด ตราด กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 ครัวเรือน จำแนกเป็นครัวเรือนที่มีหนี้สิน 20 ครัวเรือนและครัวเรือนที่ไม่มีหนี้สิน 20 ครัวเรือน โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการจัดสนทนากลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าสูงสุด และค่าต่ำ สุด ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) หัวหน้าครัวเรือนเกษตรกร เพศชายและหญิงมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่อายุ 40 - 50 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือน 2 - 4 คน มีที่ดินเฉลี่ย 19.17 ไร่/ครัวเรือน ส่วนใหญ่ปลูกยางพาราเป็นอาชีพหลัก มีรายได้และรายจ่ายเฉลี่ย 208,433 และ 201,566 บาท/ครัวเรือน/ปี ตามลำดับ 2) การจัดการการเงินของครัวเรือนเกษตรกร ส่วนใหญ่มอบหมายให้แม่บ้านเป็นผู้จัดการหลัก มีการวางแผนแบ่งสัดส่วนรายได้ วางแผนทางการเงินร่วมกันกับ สมาชิกในครัวเรือน มีการออมเงินในรูปแบบต่างๆ และเก็บออมเงินไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน การวางแผนการหารายได้ทำตามแผนได้บางส่วน จดบันทึกรายได้และรายจ่ายเป็บางครั้งที่มีรายได้และรายจ่ายเกิดขึ้น มีการเปรียบเทียบและปรับปรุงการใช้จ่ายทางการเงินให้เหมาะสมกับรายได้แ ละเพื่อการออมเงิน 3) การจัดการหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกรพบว่า ครัวเรือนเกษตรกรมีหนี้สินเฉลี่ย 223,600 บาท/ครัวเรือน ลัก ษณะหนี้สิน คือ หนี้สินผูกพันต่อเนื่องและหนี้สินเฉพาะปี ปัญหาหนี้สินของครัวเรือนเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ (1) ปัจจัยภายใน ซึ่งเกิดจากปัจจัย ส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการจัดการโดยปัจจัยส่วนบุคคลเกิดจากการขาดความขยันหมั่นเพียร ขาดเงินลงทุนทางการเกษตร มีความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต พื้นที่ทำการเกษตรมีน้อย และค่าใช้จ่ายในการศึกษาบุตร ส่วนปัจจัย ด้านการจัดการ เกิดจากการวางแผนจัดการการเงินยังไม่ดีพอ การวางแผนการประกอบอาชีพยังไม่ดีพอ (2) ปัจจัยภายนอกเกิดจากปัญหาภัย ธรรมชาติ ผลผลิตลดลง ราคาผลผลิตตกต่ำ 4) แนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินที่เกิดจากปัจจัยภายในด้านปัจจัย ส่วนบุคคล ได้แก่ การประกอบอาชีพเสริม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษาดูงานภายนอกชุมชน ลดการจัดงานหรืองานสังคม การหยุดเล่นการพนันทุกชนิด แนวทางแกไขปัญหาหนี้สินที่เกิดจากปัจจัยด้านการจัดการ ได้แก่ การลดรายจ่าย-เพิ่ม รายได้ การควบคุมการใช้จ่ายทางการเงิน และการรวมกลุ่มเกษตรกร ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินที่เกิดจากปัจจัย ภายนอก ได้แก่ การเพิ่มผลผลิตการแปรรูปผลผลิตให้ได้มาตรฐาน และให้ผู้นำหมู่บ้านช่วยเหลือกิจกรรมด้านต่างๆ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3883 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_142630.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.31 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License