Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3891
Title: ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552
Other Titles: Problems of security act and suppression of money laundering prevention act 2542 amendment (No.3) act 2552
Authors: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญมา โสมากุล, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552
การบังคับใช้กฎหมาย
เงินตรา--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
การฟอกเงิน
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552 เพื่อตัดวงจรการกระทำผิดกฎหมายที่เกิดจากการนำเงินสกปรกที่ฟอกแล้วกลับไปใช้ในการกระทำความผิดอีก แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายฟอกเงินได้แก่ การใช้อำนาจหน้าที่ของเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ปัญหากระบวนการพิจารณาคำร้องให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ และปัญหาการชำระค่าฤชาธรรมเนียม ที่อาจมีผลกระทบถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน ผู้เขียนจึงศึกษาถึงความเป็นมาและแนวคิดของการฟอกเงิน กฎหมายการฟอกเงินของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขกฎหมายโดยได้ทำการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร (Document any Research) ทั้งเอกสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ตำรา หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ ตัวบทกฎหมาย บทความ เป็นต้น จากการศึกษากฎหมายฟอกเงินของไทยผู้เขียนพบว่าพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552 ยังมีช่องว่างและก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับประชาชน ดังนั้น รัฐจึงควรดำเนินการแก้ไขกฎหมายของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ อาทิเช่น รัฐควรกำหนดขั้นตอนของการสรรหาเลขาธิการ ป.ป.ง. ในเชิงลึกรัฐควรกำหนดวิธีการในการเยียวยาประชาชนผู้สุจริตหรือผู้ที่ถูกละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพจากการใช้กฎหมายฟอกเงิน รัฐควรแก้ไขกฎหมายให้สามารถคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้ อีกทั้งรัฐควรกำหนดการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและการสั่งคืนค่าฤชาธรรมเนียมแก่ผู้คัดค้านในกรณีที่เป็นฝ่ายชนะคดีใหม่
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3891
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons